เช็คด่วน! อ้วนจริง หรือบวมน้ำกันแน่?

เช็คด่วน! อ้วนจริง หรือบวมน้ำกันแน่?

เอ้า ฮึบ! ฟิตหุ่น! ออกกำลังกายอย่างหนัก! เพื่อสุขภาพ และหุ่นสวยแบบที่ไฝ่ฝันไว้…  แต่พอขึ้นเหยียบเครื่องชั่งน้ำหนักเท่านั้นแหละ เฮ้ย! น้ำหนักมันไม่ลดเลย แถมดีดขึ้นมากกว่าเดิมอีก ทำไมกันนะ? หรือเพราะเรายังออกกำลังกายไม่มากพอ

สาวๆ คะ ตัวเลขบนตาชั่งนั้น อาจไม่ใช่เลขบอกมวลไขมันแบบสาวๆ ที่คิด และที่เราน้ำหนักขึ้นมากผิดปกติ อาจไม่เกี่ยวกับน้ำหนัก แต่อาจเป็นอาการบวมน้ำก็ได้! 

ซึ่งเป็นอาการที่ร่างกายของสาวๆ จะบวมขึ้นจากการกักเก็บน้ำไว้มากกว่าปกติ ซึ่งทำให้ไม่ว่าจะออกกำลังกายหนักแค่ไหน ก็สามารถกลับมาบวมได้อีกนั่นเอง

และเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราบวมน้ำ หรือแค่น้ำหนักเกินกันแน่? แล้วความต่างของ 2 อย่างนี้คืออะไร? คำตอบของสาวๆ อยู่ในบทความนี้แล้ว ซึ่งซิสได้ร่วมวิธีสังเกตง่ายๆ มาให้อ่านกันค่ะ!  กับหัวข้อ เช็กด่วน! อ้วนจริง หรือบวมน้ำกันแน่?

ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน

ภาวะที่ร่างกายมีพลังงาน หรือมีไขมันในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดไขมันส่วนเกิน และร่างกายก็จะไม่สามรถเผาผลาญได้หมด หรืออาจเผาผลาญได้ช้านั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะอ้วน

  • กินอาหารที่มีพลังงาน และไขมันสูง เช่น อาหารผัดทอด อาหารประเภทแป้ง หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง
  • ไม่ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ฮอร์โมนในร่างกายไม่ปกติ
  • ความเครียด
  • ปัญหาระบบทางเดินอาหาร

หากมีน้ำหนักที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ทางที่ดีควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน เช่น การออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีแป้ง หรือน้ำตาล เป็นต้น

อาการบวมน้ำ

ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของเหลวมากกว่าปกติ ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะสามารถรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายได้เอง แต่ถ้าเกิดความผิดปกติขึ้น ก็จะทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้นั่นเอง โดยอาการบวมน้ำจะเกิดที่บริเวณขา เท้าหรือใบหน้าแต่ในบางกรณีอาจจะมีอาการบวมทั่วร่างกายได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

  • กินอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง 
  • ดื่มแอลกอฮอล์ 
  • เป็นโรไต หรือไตทำงานผิดปกติ
  • เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำได้
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก หรือยาฆ่าเชื้อรา
  • การใช้ยาคุมที่มีฮอร์โมนสูง อาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้
  • การมีประจำเดือน ก็สามารถทำให้มีอาการบวมน้ำได้เช่นกัน เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนไม่คงที่มากที่สุด

เช็คอาการบวมน้ำยังไง?

ในส่วนของวิธีการเช็คที่นอกจากการแบ่งแยกอาการตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการเช็คอาการบวมน้ำอย่างง่าย ที่ทุกคนสามารถสังเกตได้เองนะคะ โดยการลองใช้นิ้วกดลงบริเวณที่บวม หากผิวบริเวณที่บวมบุ๋มลง ก็สามารถที่จะบอกอาการบวมน้ำได้ตามระดับที่ถูกกด

โดยสาวๆ สามารถอ่านวิธีเช็คอาการบวมน้ำเพิ่มเติมได้ ในบทความนี้

Nurse Soulciety :การประเมินอาการบวมกดบุ๋ม

วิธีลดอาการบวมน้ำ

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง

ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ พิซซ่า ไส้กรอก รวมทั้งขนมปังกึ่งสำเร็จรูปด้วย 

ส่วนอาหารที่ปรุงเองก็ควรลดการใส่เกลือลง แต่อย่าลืมว่าแม้จะลดกินเกลือแล้ว ถ้าทานอาหารรสจัดจนร่างกายรับได้มากเกินไป ก็ยังคงเกิดอาการบวมน้ำได้อยู่ดี ควรทานให้พอดีกับความต้องการของร่างกายจะดีที่สุด

เลือกกินยาคุมชนิดฮอร์โมนต่ำ

โดยดูได้จากปริมาณฮอร์โมน Ethinylestradiol (EE) ควรเลือกไม่เกิน 0.03 มก. และควรเลือกใช้ยาคุมที่มีตัวยา “ดรอสไพรีโนน (Drospirenone)” ซึ่งตัวยานี้จะมีฤทธิ์ต้านการบวมน้ำ จึงไม่ทำให้เกิดอาการอ้วน บวมน้ำ และไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย

กินยาคุมชนิดฮอร์โมนต่ำลดอาการบวมน้ำ

ดื่มน้ำให้มากขึ้น

ยิ่งดื่มน้ำมากเท่าไร ก็จะทำให้ร่างกายสามารถขับสารพิษ และของเสียออกมาได้ดีขึ้น รวมทั้งเจือจางเกลือ และน้ำส่วนเกินออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ จึงช่วยลดอาการบวมได้

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายจะช่วยเร่งการไหลเวียนของระบบไหลเวียนเลือด ทำให้ของเหลว และเกลือแร่ที่สะสมอยู่ในร่างกายได้ถูกขับออกมาเร็วขึ้น และเลือกออกกำลังกายแบบที่ไม่หนักเกินไป เช่น การเดิน การวิ่งเบา ๆ ปั่นจักรยานหรือการว่ายน้ำ ซึ่งจะช่วยไล่น้ำส่วนเกินออกจากร่างกายด้วย

พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อใดที่ร่างกายเครียดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์ขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะบวมน้ำตามมา การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับสาว ๆ  

หรือถ้าสาวๆ ยังรู้สึกว่าอาการบวมน้ำไม่ดีขึ้น ซิสขอให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ หรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ เพิ่มเติมจะเป็นการดีที่สุดนะคะ และพยายามนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อร่างกายก็จะการปรับสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ได้ดีขึ้นนั่นเองค่ะ 

และหากสาวๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

Scroll to Top