สาวๆ หลายคนอาจเคยประสบปัญหา ประจำเดือนเป็นก้อน หรือไหลออกมาเป็นลิ่มเล็กๆ ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน โดยมักพบได้ในหลากหลายสถานการณ์ เช่น ปนออกมาตอนปัสสาวะ หรือในระหว่างเปลี่ยนผ้าอนามัยในช่วงวันแรกๆ ที่มีประจำเดือน ซึ่งอาจทำให้รู้สึกกังวลใจว่า อันตรายหรือไม่?
ต้องขอบอกก่อนเลยค่ะว่า การมีประจำเดือนเป็นก้อนในขนาดเล็ก ไม่ได้เป็นเรื่องอันตราย และสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติในช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลระบบการไหลเวียนเลือด อย่างไรก็ตาม หากก้อนเลือดที่ออกมามีขนาดใหญ่ผิดปกติ หรือมาพร้อมกับอาการเจ็บปวดที่รุนแรง ควรสังเกตและปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงค่ะ
ลักษณะของประจำเดือนปกติ
โดยทั่วไป ประจำเดือน จะมีลักษณะเหลว มีสีแดงสดหรือแดงเข้ม และมักมีระยะเวลาประมาณ 5-7 วัน ทั้งนี้การมาของประจำเดือนควรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน เพราะถือเป็นตัวชี้วัดสุขภาพภายในของผู้หญิงได้ดีอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้รู้หรือไม่ว่า สีของประจำเดือน สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายของเราได้อีกด้วย หากอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ลองอ่านบทความนี้นะคะ ‘7 สีประจำเดือนช่วย “เตือน” สุขภาพ !’
สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนเป็นก้อน
ประจำเดือนเป็นก้อนหรือลิ่มเล็กๆ มักพบได้ในช่วง 1-2 วันแรกที่มีประจำเดือน เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัว และจะกลับมาเป็นลักษณะเหลวปกติในวันถัดไป แต่ถ้าหากมีลิ่มเลือดหรือก้อนเลือดขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร และเกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมาพร้อมกับอาการปวดท้องรุนแรง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติ เช่น โรคทางนรีเวช หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนค่ะ
สาเหตุที่พบบ่อย
- ฮอร์โมนไม่สมดุล
เมื่อฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล อาจส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาจับตัวเป็นก้อนเลือดได้ง่าย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตสารต้านการแข็งตัวของเลือดได้ทันเวลา - โรคทางนรีเวช
การมีประจำเดือนเป็นก้อนอาจเกี่ยวข้องกับโรคบางชนิด เช่น- โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- พังผืดในมดลูก
- เนื้องอกมดลูก
- โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก
- โรคไทรอยด์ผิดปกติ
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์?
หากคุณมีอาการเหล่านี้ร่วมกับการมีประจำเดือนเป็นก้อน ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วเพื่อวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม
- ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง
- ประจำเดือนมีกลิ่นผิดปกติ
- ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ผิดปกติ และออกมาอย่างต่อเนื่อง
วิธีดูแลตัวเอง
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประจำเดือนเป็นก้อน หรือช่วยบรรเทาอาการ คุณสามารถดูแลตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้ค่ะ
- พักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายที่พักผ่อนน้อยอาจทำให้ระบบไหลเวียนเลือดและฮอร์โมนผิดปกติ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ ไข่แดง ผักโขม รวมถึงอาหารที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วอัลมอนด์
และหากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องเกร็ง หรือปวดท้องประจำเดือนแบบรุนแรง ซิสแนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการเพิ่มเติมในทันทีค่ะ
และหากสาว ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ
ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก
แหล่งที่มาข้อมูล :
POBPAD : ลิ่มเลือดประจำเดือน รู้จักสาเหตุและสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล : ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?