‘หิวไหม ทานอะไรมาหรือยัง?’ ถ้ายัง…ไปกินชาบูกันก่อนได้ไหม? หลายๆ คนอาจเคยมีอาการนี้กันนะคะ อาการที่หิวตลอดเวลา หิวบ่อยๆ ถึงกินมื้อใหญ่ๆ ไปแล้ว แต่ท้องก็ยังร้องไม่หยุด หรือว่าอาการหิวจะบ่งบอกความผิดปกติในร่างกายเรากันนะ?
เพื่อตอบคำถามข้างต้น ในบทความนี้ซิสจะพาสาวๆ ไปหาสาเหตุของอาการหิวบ่อยๆ หิวตลอดเวลา หรือร่างกายกำลังบอกอะไรเรากันแน่ กับ 9 สาเหตุที่ทำให้เราหิว! ถ้าพร้อมแล้ว ก็ไปกันเลยค่ะ!
สาเหตุของการหิวบ่อย
1.กินอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง
เพราะอาหารแต่ละประเภทส่งผลต่อความหิวต่างกัน การกินอาหารประเภทที่มีน้ำตาล ไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ขนมปังขาว เค้ก ฟาสต์ฟูด เป็นต้น อาหารเหล่านี้มักผ่านการดัดแปลง ขัดสีหรือปรุงแต่งจนน่ารับประทาน ทั้งสีสันรวมถึงรสชาติ ซึ่งอาหารประเภทนี้จะไม่มีไฟเบอร์ ส่งผลให้ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมได้เร็วทำให้หิวเร็วขึ้นตามมาด้วยนั่นเอง
ดังนั้นซิสขอแนะนำให้กินอาหารประเภทที่มีความสมดุล มีโปรตีน ไขมันอิ่มตัวและไฟเบอร์สูง เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ผัก ผลไม้ ธัญพืชหรือถั่วชนิดต่างๆ เป็นต้น อาหารเหล่านี้ก็จะช่วยให้สาวๆ รู้สึกอิ่มนานขึ้น และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นด้วยค่ะ
2.การกินยาบางประเภท
โดยเฉพาะยาแก้แพ้ ยาต้านฮีสตามีน รวมถึงยาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs ยารักษาโรคเบาหวานบางตัว เป็นต้น ถ้าหากสาวๆ คนไหนที่มีความกังวลในเรื่องของยาที่กินอยู่ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการเปลี่ยนยานั่นเองค่ะ
3.การตั้งครรภ์
สำหรับคนที่เป็นคุณแม่ การหิวบ่อยๆ ก็อาจเป็นเพราะทารกที่อยู่ในครรภ์กำลังอยู่ในช่วงเติบโต จึงต้องการสารอาหารมากกว่าปกติ แม้ว่าอาจจะดูเป็นเรื่องปกติ แต่คุณแม่ก็ควรระมัดระวังไม่กินอาหารจนเกินปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเด็กทารกในครรภ์ไม่ต้องการอาหารในปริมาณเทียบเท่ากับผู้ใหญ่นั่นเองค่ะ
4.การอดอาหารนานเกินไป
อดกินมื้อเช้า หรือทำงานจนลืมเวลา สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายของเราเกิดความอยากอาหารมากขึ้นกว่าเดิม เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า เกรลิน (Ghrelin) ออกมามากกว่าปกติ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นความอยากอาหาร จึงทำให้เรารู้สึกหิว และกินมากกว่าปกติ
5.ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
มักพบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานเนื่องจากผลข้างเคียงจากการรักษา สามารถบรรเทาได้ด้วยการกินอาหารหรือผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเกิดได้หลายกรณี เช่น ตับอักเสบ ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง เป็นต้น ซึ่งเกิดได้จากการกินของที่มีสารอาหารน้อย หรือกินข้าวไม่ตรงเวลาค่ะ
6.พักผ่อนไม่เพียงพอ
การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือตื่นกลางดึกอยู่บ่อยๆ ก็ส่งผลให้ให้เพิ่มระดับฮอร์โมนเกรลินในร่างกายได้เช่นกัน รวมถึงลดระดับฮอร์โมนเลปติน ซึ่งมีหน้าที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม จึงสรุปได้ว่าเมื่อสาว ๆ ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ ความอยากอาหารก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเองค่ะ
โดยอาการเบื้องต้นของความหิวที่มาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ เช่น อารมณ์แปรปรวน เฉื่อยชา ไม่มีความกระตือรือร้น น้ำหนักขึ้น ซึ่งการพักผ่อนที่ดีควรพักผ่อนอย่างน้อย 7 – 8 ชั่วโมง ก็จะช่วยลดอาการหิวบ่อยได้ค่ะ
7.ความเครียด
เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะเครียด หรือวิตกกังวลมาก ๆ ระดับฮอร์โมนแห่งความเครียดอย่าง คอร์ติซอล และอะดรีนาลีน จะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากสมองจะยับยั้งการหลั่งเซโรโทนินซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความหิว จึงทำให้เรามีความหิวเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อรู้สึกเครียดนั่นเองค่ะ
และอาหารที่ร่างกายต้องการเมื่ออยู่ในสภาวะเครียด นั่นก็คือ อาหารประเภทไขมัน และน้ำตาลสูง นอกจากอาการหิวแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เป็นต้น
8.ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สำคัญคือการควบคุมระบบเมตาบอลิซึมของร่างกาย และการทำงานของอวัยวะให้เป็นไปอย่างปกติ เมื่อเกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ก็อาจส่งผลต่ออารมณ์ น้ำหนักหรือระดับพลังงานในร่างกายได้
ซึ่งอาการหิวบ่อยมักเกิดในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน จึงทำให้เกิดอาหารหิวบ่อย รวมถึงหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกง่าย คอบวม เหนื่อยง่าย เป็นต้น
9.อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
อาหารหิวบ่อยๆ บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากเรื่องใกล้ตัวสาวๆ กว่าที่คิดค่ะ เพราะ อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการหิวบ่อยได้เช่นกัน รวมถึงอาการคัดตึงเต้านม ปวดท้อง ท้องอืด
การเลือกกินอาหาร และการออกกำลังกาย สามารถช่วยเยียวยาอาการหิวบ่อยได้เช่นกันค่ะ แต่หากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นก็ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางออกนะคะ
วิธีแก้ปัญหาอาการหิวบ่อย
แน่นอนว่าสาว ๆ ที่ติดตามกันมาถึงตรงนี้ คงพอเข้าใจแล้วว่าอาการหิวบ่อยสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นวิธีการดูแลหรือแก้ไขก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วยเช่นกันค่ะ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นที่ซิสนำมาฝากสาวๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันค่ะ
- กินอาหารที่เหมาะสม
เพราะอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มีไขมันน้อยหรือกระทั่งอาหารที่มีโปรตีนสูง ล้วนให้พลังงานที่เหมาะสมพอเหมาะกับการดำเนินชีวิตประจำวัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงด้วยนะคะ
- ไม่ควรอดอาหาร
การกินอาหารเป็นครั้งคราวหรืออดอาหาร นอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่ไม่เพียงพอแล้ว ร่างกายยังต้องสลายไขมันในร่างกายแทนการสลายน้ำตาลเพื่อเพิ่มพลังงาน ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงอันตรายต่อร่างกายได้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
การดื่มน้ำที่เพียงพอต่อร่างกาย ก็สามารถช่วยลดอาการหิวบ่อยได้เช่นกัน ซึ่งแต่ละคนก็มีความต้องการน้ำต่างกัน โดยเป็นน้ำอุ่นจะดีที่สุดค่ะ
- การกินยาคุมชนิดฮอร์โมนต่ำ แบบ 24+4
ยาคุมสูตรนี้เป็นชนิดฮอร์โมนรวม ที่มีตัวยา “ดรอสไพรีโนน” (Drospirenone) ซึ่งเป็นยาคุมชนิด 24+4 เม็ด จะเป็นเม็ดยา 24 เม็ด และเป็นเม็ดแป้ง 4 เม็ด เนื่องจากเป็นยาคุมสูตรที่มีจำนวนเม็ดยาฮอร์โมนมากกว่ายาคุมสูตรอื่นๆ จึงลดการแปรปรวน ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายคงที่ได้ดีกว่ายาคุมสูตรอื่น ดังนั้นยาคุมสูตรนี้ก็สามารถลดอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหิวได้เช่นกันค่ะ
หากสาวๆ ท่านไหนยังมีข้อสงสัย หรืออยากได้คำแนะนำในด้านการเลือกใช้ยาคุมกำเนิด สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ
ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก