ประจำเดือนกับผู้หญิง สิ่งที่มาคู่กันโดยไม่สามารถแยกจากกันไปไหนได้ เมื่อสาวๆ เข้าสู่วัยเจริญพันธ์ ก็จะเริ่มมีประจำเดือน และฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนไป และอีกสิ่งที่ต้องพบเจอในวัยมีประจำเดือนนี้ก็คือ ‘อาการ PMS’ หรืออาการก่อนมีประจำเดือน นั้นเอง
PMS คืออะไร?
PMS (Premenstrual Syndrom) คือ อาการที่จะเกิดก่อนช่วงก่อนมีประจำเดือน 1-2 สัปดาห์ และอาการจะค่อยๆ หายไปหลังจากมีประจำเดือน หรือบางคนอาจเป็นยาวไปจนหมดประจำเดือนในรอบเดือนนั้นๆ
อาการของ PMS ช่วงก่อนมีประจำเดือน
- ปวดท้องประจำเดือน
- ตัวบวม พุงป่อง
- คัดตึงหน้าอก
- สิวเมนส์
- ปวดศีรษะ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด เหวี่ยงวีน
- นอนไม่หลับ
โดยสาเหตุหลักๆ มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน เมื่อระดับฮอร์โมนเหล่านี้ผันผวนก่อนมีประจำเดือน ก็จะทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ ตามมา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย
สาเหตุของอาการ PMS ช่วงก่อนมีประจำเดือน
- ฮอร์โมนแปรปรวน โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน
- พันธุกรรม หากคุณแม่หรือญาติสายตรงเคยมี PMS ก็มีโอกาสเป็นมากกว่าคนอื่น
- ไลฟ์สไตล์ที่ไม่ถูกต้อง เช่น นอนไม่พอ พักผ่อนน้อย เครียดเป็นประจำ อดนอน กินของไม่ถูกสุขลักษณะ
- ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า ก็จะทำให้อาการ PMS แย่ลงไปอีก
- การมีภาวะสุขภาพไม่สมบูรณ์ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร อ้วน เป็นโรคประจำตัว ฯลฯ
แม้ PMS จะเป็นอาการที่สาวๆ ต้องเจอทุกเดือน แต่ก็ไม่ได้ส่งผลดีเท่าไหร่กับร่างกายนัก และยังมีผลข้างเคียงต่างๆ ที่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ฉะนั้นซิสเลยมีวิธีรับมือกับอาการก่อนมีประจำเดือนมาให้สาวๆ ทุกคนค่ะ!
วิธีรับมือกับ PMS
มีวิธีการดูแลรักษา PMS หลายวิธี ทั้งการไม่ใช้ยา การใช้ยา และการรักษาโดยใช้ฮอร์โมน ซึ่งจะต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย และความรุนแรงของอาการ
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
เป็นวิธีที่ปลอดภัยและง่ายที่สุด โดยสามารถทำได้ด้วยตนเองดังนี้
- ปรับพฤติกรรมการกิน หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นฮอร์โมน เช่น กาแฟ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอาหารหวาน เค็ม รสจัด เน้นกินผัก ผลไม้ ธัญพืชเป็นหลัก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง จะช่วยลดความเครียด ผลิตฮอร์โมนบำบัดทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ลดความเครียดและกิจกรรมที่กระตุ้นอารมณ์รุนแรง
2. การรักษาโดยใช้ยา
หากอาการ PMS รุนแรงจนทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ ก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น
- ยากลุ่มต้านซึมเศร้า/คลายกังวล เพื่อรักษาอารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด กระวนกระวาย
- ยาแก้ปวด ลดอาการปวดท้องประจำเดือน ปวดศีรษะ จากอาการ PMS
อย่างไรก็ดี การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพื่อให้ได้รับยาที่เหมาะสมและปลอดภัยนะคะ
3. การรักษาโดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
คุมกำเนิดเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับสาวๆ ที่ใช้ยาคุมอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ว่ายาคุมทุกชนิดจะรักษาอาการ PMS ช่วงก่อนมีประจำเดือนได้
ซิสขอแนะนำเป็นยาคุมฮอร์โมนรวมชนิด 24+4 ที่มีเม็ดยาฮอร์โมน 24 เม็ด และเม็ดแป้ง 4 เม็ด และมีตัวยา “ดรอสไพรีโนน” (Drospirenone) ซึ่งยาคุมสูตรนี้เป็น ยาคุมปรับฮอร์โมนให้คงที่ ช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) และอาการ PMS ขั้นรุนแรง (PMDD)
และสำหรับสาวๆ ที่กำลังหาวิธีรับมืออาการเบื้อต้น ซิสก็เคยเล่าไว้แล้วนะคะ สามารถตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้! ‘6 วิธีรับมือกับอาการ PMS ช่วงก่อนมีประจำเดือนของมนุษย์เมนส์’
PMS เป็นอาการที่สาว ๆ ต้องเจอทุกเดือน แต่หากเรารู้จักวิธีรับมือที่ถูกต้อง ก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้อย่างสบายใจ ด้วยการดูแลตนเองให้ดีที่สุด แต่ถ้าหากมีอาการที่รุนแรง หรือกระทบกับร่างกายเป็นอย่างมาก ให้รีบปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วนะคะ
และหากสาว ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ
ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก