Read in 1 minute (อ่านแบบย่อ)
หากิจกรรมคลายเครียด หรือออกกำลังกาย
นอกจากจะได้สุขภาพที่ดีแล้วยังช่วยในการลดความเครียดอีกด้วย
ลดอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด
อาหารรสจัดอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อาหาร PMS รุนแรงขึ้น แต่ก็มีส่วน
ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
ดื่มน้ำไม่น้อยกว่า 1.5 – 2.7 ลิตรต่อวัน
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
ร่างกายต้องการ การพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
เพราะอาจส่งผลให้มีความแปรปรวนทางอารมณ์มากขึ้นกว่าปกติ
ใช้ยาปรับสมดุลฮอร์โมน
ยากลุ่ม NSAIDs
ยาปรับฮอร์โมน หรือ ยาคุมกำเนิด
อาหารเสริมบางชนิด
สำหรับสาวๆ คนไหนที่อยู่ดีๆ ก็อารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ หงุดหงิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ปวดหัว ปวดท้อง เจ็บเต้านม นอนไม่หลับ แถมสิวยังเห่อเต็มหน้า บางคนถึงขั้นมีอาการท้องผูกท้องเสีย
หากสาวๆ คนไหนมีอารมณ์แปรปรวนร่วมกับมีอาการอย่างข้างต้น นั่นหมายความว่าใกล้วันแดงเดือดแล้วนั่นเอง จนมีคำเรียกที่ใช้เรียกสาวๆ ช่วงนี้ว่า มนุษย์เมนส์
อาการลักษณะนี้ก็คืออาการก่อนมีประจำเดือนหรือ PMS (Premenstrual Syndrome) เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนจะมีประจำเดือน 1 – 2 สัปดาห์ โดยมีสาเหตุมาจาก การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน
โดยปกติแล้วมักจะค่อยๆ ดีขึ้นหลังหมดประจำเดือน แต่ในช่วงที่เป็น PMS นี้ จะเกิดอารมณ์แปรปรวน หรืออาการอื่นๆ ตามมา ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือถึงขั้นกระทบกับความสัมพันธ์ และการงานได้เลยทีเดียว
เพราะฉะนั้นซิสเลยจะมาแนะนำ 6 วิธีรับมือกับอาการ PMS ของสาว ๆ ที่อยู่ในช่วงของการเป็นมนุษย์เมนส์
1.หากิจกรรมคลายเครียด หรือออกกำลังกาย เพื่อลดอาการ PMS
ความเครียดส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความไม่สมดุลได้ เพราะฉะนั้นการหากิจกรรมเพื่อช่วยบรรเทาความเครียดจะช่วยให้ร่างกายปรับความสมดุลภายในได้ดี
เช่น การออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้สุขภาพดีแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อในร่างกายทำงานมากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือน รวมถึงช่วยในการลดความเครียดอีกด้วย
2.ลดอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด
อะไรที่มากไปย่อมส่งผลร้ายมากกว่าดี อาหารก็เช่นกัน การกินอาหารรส หวานจัด หรือ เค็มจัด ทำให้ภายในร่างกายทำงานหนัก และอาจทำให้ร่างกายเกิดการสะสมของเสียในร่างกาย
โดยอาหารหวานจัด อาจทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินพอดี และอาจส่งผลถึงอารมณ์ เพราะการกินอาหารที่มีรสชาติหวาน จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง “โดปามีน” ออกมา ทำให้รู้สึก พอใจ มีความสุขเมื่อได้รับของหวานระยะเวลาหนึ่ง จึงเกิดเป็นอาการเสพติด หากไม่ได้รับของหวานอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการ หงุดหงิด หรือโมโหได้
อาหารเค็มจัด การทำให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินความจำเป็น จะทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมน้ำ ส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ อีกทั้งการกินอาหารเค็มจัดยังรบกวนการนอนหลับ เพราะอาจทำให้เราต้องตื่นเข้าห้องน้ำในช่วงกลางดึกบ่อย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการนอน และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้
คำว่า อาหารจืดยืดอายุ จึงเป็นคำที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง ถึงแม้ว่าการกินอาหารรสจัดอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อาการ PMS รุนแรงขึ้น แต่ก็มีส่วนทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้ เพราะฉะนั้นซิสเลยอยากให้สาว ๆ ใส่ใจอาหาร เลือกกินอาหารไขมันต่ำ ไม่หวานจัด และเค็มจัดนะคะ
3.ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
เพราะร่างกายคนเราประกอบไปด้วยน้ำ สูงถึง 70% น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นกับร่างกายมาก การดื่มน้ำให้เพียงพอ จึงมีความสำคัญกับร่างกาย อีกทั้งน้ำเปล่ายังช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นด้วย
เพราะฉะนั้นสาว ๆ ทุกคนควรดื่มน้ำไม่น้อยกว่า 1.5 – 2.7 ลิตรต่อวัน เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกายนะคะ
4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
การอดนอนอัตรายกว่าที่คิด การนอนน้อยหรือการอดนอน ในช่วงแรกอาจเกิดอาหารร่างกายอ่อนเพลีย สมาธิลดลง และอาจส่งผลให้มีภาวะซึมเศร้า
เพราะร่างกายของคนเราต้องการ การพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ยังส่งผลให้สารเคมีในร่างกายมีความสมดุลมากขึ้น รู้สึกสดชื่น และมีแรงเมื่อยามตื่น
5.หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายนั้น จะทำให้เกิดการกระตุ้น และส่งผลต่อระบบประสาทโดยตรง
คาเฟอีน จะเข้าไปกระตุ้นระบบประสาท ทำให้สมอง และเซลล์ประสาทตื่นตัว เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า หากดื่มในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการ กระสับกระส่าย วิตกกังวล ใจสั่น และนอนไม่หลับ
แอลกอฮอล์ จะทำให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย หากดื่มในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้โฟกัสได้น้อยลง หรือระบบประสาทอาจหยุดชะงัก
หากได้รับคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ในระหว่างที่ร่างกายเกิดอาการ PMS อาจส่งผลให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์มากขึ้นกว่าปกติ เกิดความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือ ไม่มีสมาธิ และหลุดโฟกัสได้
แต่ไม่ว่าสาว ๆ ทุกคนจะอยู่ในช่วง PMS หรือไม่ ก็ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะ และดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอดีไม่ให้ขาดสตินะคะ
6.ใช้ยาปรับสมดุลฮอร์โมน
ในสาว ๆ บางคนอาจมีอาการ PMS ก่อนมีประจำเดือนเช่น อารมณ์แปรปรวน ตัวบวม พุงป่อง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเต้านมมาก เป็นสิวเมนส์ เป็นต้น แต่ถ้าสาวๆ บางคนที่มีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นปวดท้องประจำเดือนรุนแรงถึงขั้นไปเรียนหรือไปทำงานไม่ไหว ซึ่งอาการเช่นนี้เรียกว่า อาการก่อนมีประจำเดือนขั้นรุนแรง หรือ PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder)
หากสาว ๆ มีอาการก่อนมีประจำเดือน PMS หรือ PMDD การใช้ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด เป็นอีกวิธีที่สามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้
ยาปรับฮอร์โมน หรือ ยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิด โดยซิสแนะนำให้เลือกใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมแบบ 24+4 ซึ่งเป็นยาคุมที่มีเม็ดยาฮอร์โมน 24 เม็ด และเป็นเม็ดแป้ง 4 เม็ด สามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนให้คงที่ได้ โดยจะลดการแปรปรวนของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ยาคุมสูตรนี้จึงจะช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน PMS และ PMDDโดยสาว ๆ สามารถอ่านวิธีเลือกยาคุมที่เหมาะกับตัวเอง หรือปรึกษาเภสัชกรได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้
สุดท้ายนี้ซิสอยากให้สาว ๆ สังเกตอาการ และระดับความรุนแรงของตัวเอง และเลือกวิธีรับมือที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของอาการของตัวเอง
หากสาว ๆ คนไหนที่ยังลังเลไม่แน่ใจ หรือไม่มั่นใจในการสังเกตอาการของตัวเอง ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ที่อยู่ใกล้บ้านของสาว ๆ ทุกคนได้เลยนะคะ