คุณแม่หลังคลอด เริ่มกินยาคุมกำเนิดยังไงไม่ให้ตุ้มเป๊ะ!

กินยาคุมหลังคลอดได้ไหม!? เริ่มกินยังไง!

หลังจากที่สาวๆ ผ่านการคลอดลูกน้อยกันมาแล้ว ก็ได้กลายเป็นคุณแม่เต็มตัว คงรู้สึกตื่นเต้นปนกับความกังวลใจเล็กน้อยนะคะ เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นแค่มีเจ้าตัวเล็กมาอยู่ด้วยกันแล้วเท่านั้น แต่ยังรววถึงสุขภาพร่างกายของคุณแม่หลังจากนี้ด้วย!

ในช่วงแรกๆ คุณแม่จะต้องมีการพักฟื้นร่างกายก่อนเป็นอย่างต่ำ 2 สัปดาห์ หรือมากสุดถึง 6 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่กลับมาแข็งแรง และเข้าสู่ภาวะปกติ

ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่ที่รู้สึกว่าอยากพักการมีน้องไปสักระยะ หรืออาจไม่อยากมีน้องเพิ่มๆ แล้ว หลายคนก็ที่เลือกใช้การกินยาคุมกำเนิด สำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าควรจะเริ่มกินยาคุมยังไง หรือคนที่เคยกินมาก่อนแล้วอาจเริ่มไม่ถูกว่าต้องเริ่มกินยังไง ซิสก็จะมาช่วยแนะนำคุณแม่เอง!

เริ่มกินยาคุมหลังคลอดได้เมื่อไหร่?

คุณแม่สามารถเริ่มกินยาคุมกำเนิดแผงแรกได้ หลังจากคลอดบุตรแล้ว 6 สัปดาห์ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น และคุณแม่จะกลับมามีประจำเดือนปกติ 

นอกจากการคุมกำเนิดแล้ว คุณแม่ทุกคนก็ควรที่จะมีการดูแลสุขภาพหลังคลอดควบคู่ไปด้วย เพราะร่างกายของคุณแม่หลังการคลอดควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ และค่อนข้างเสี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เป็นไปได้ควรอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญ และควรตรวจสุขภาพหลังคลอดกันด้วยนะคะ 


ยาคุมกำเนิดที่เหมาะกับคุณแม่หลังคลอด?

ยาคุม Slinda ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวยาคุมสำหรับคุณแม่ให้นมลูกหรือหลังคลอดลูก และผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ

ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว

ซิสแนะนำคุณแม่หลังคลอด และให้นมลูก เลือกใช้ ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว ที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนตัวเดียวสำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร หรือหลังคลอด 6 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่ควรใช้ยาคุมฮอร์โมนรวมเพราะอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำนม 

ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยวยังเหมาะกับ..

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • สูบบุหรี่
  • เป็นโรคอ้วน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันสูง หรือโรคเบาหวาน

หากสาวๆ อยากรู้ว่ากินยาคุมกำเนิดแล้วจะมีผลกระทบกับการให้นมลูกน้อยรึเปล่า ทุกคนสามารถตามไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้เลยนะคะ คุณแม่ช่วงให้นมลูกสามารถกินยาคุมได้หรือไม่ ?


ยาคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะกับคุณแม่หลังคลอด

ไม่ควรใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้มีผลกระทบกับน้ำนม และยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ต่อคุณแม่ด้วย เช่น

  • ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เวียนหัว
  • ปวดท้อง

และหากสาว ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

Scroll to Top