4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับยาคุมกำเนิด ที่สาวๆ ควรรู้

4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับยาคุมกำเนิด ที่สาวๆ ควรรู้

หลายคนอาจเคยได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดมากันบ้างนะคะ คนนู้นบอกอย่างนั้น คนนี้บอกอย่างนี้ สารพัดคำพูดที่บอกต่อกันมา…

ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดแบบไหนที่ได้ยินมานะคะ ซิสก็อยากให้ทุกๆ คนศึกษา และลองหาข้อมูลกันก่อนเป็นอันดับเเรก อย่าเพิ่งปักใจเชื่อเรื่องไหนก่อน โดยที่เรายังไม่รู้ เพราะอาจนำไปสู่การใช้ยาคุมที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด และอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ตามมานั้นเองค่ะ

และในบทความนี้ ซิสได้รวบรวม 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับยาคุมกำเนิด มาไขข้อข้องใจให้สาว ๆ เพื่อการใช้ยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพสูงสุด และปลอดภัยกันค่ะ 

1. ยาคุมกำเนิดทำให้ “อ้วน” 

เรื่องนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สาวๆ รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิด ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่ยาคุมกำเนิดทุกตัวจะทำให้อ้วน หรือน้ำหนักขึ้น มีแค่ยาคุมกำเนิดที่มีตัวยา “ดรอสไพรีโนน (Drospirenone)” ที่ไม่ทำให้อ้วน น้ำหนักไม่ขึ้น เนื่องจากตัวยานี้มีฤทธิ์ต้านการบวมน้ำนั่นเอง แต่สำหรับยาคุมชนิดอื่นอาจมีผลข้างเคียง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลนะคะ

ยาคุมเมโลเดีย Melodia ยาคุมฮอร์โมนรวม ยาคุมกำเนิด-รักษาสิว-ไม่บวมน้ำ ยาคุมแผงสีส้ม ยาคุม Synfonia ยาคุมแผงสีม่วง ยาคุมฮอร์โมนรวมชนิด 24+4 ลดอาการ PMS และ PMDD

2. ยาคุมกำเนิดทำให้ “มีลูกยาก” 

กินยาคุมแล้วทำให้มีลูกยาก’ ‘กินยาคุมติดต่อกันนานๆ ทำให้มีลูกยาก’ เปลี่ยนความคิดได้เลยค่ะ ยาคุมกำเนิดไม่ส่งผลต่อความสามารถในการเจริญพันธุ์ เพราะยาคุมกำเนิดเป็นเพียงการคุมกำเนิดระยะสั้นๆ เท่านั้น เมื่อหยุดกินยา ร่างกายจะกลับมาสู่ภาวะตกไข่ และสามารถตั้งครรภ์ได้ปกติภายใน 3 เดือน

  • ยาคุมกำเนิดทำงานโดย ป้องกันการตกไข่  และ ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น  ซึ่งทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้ 
  • เมื่อหยุดกินยา ร่างกายจะกลับมาผลิตไข่  และมูกที่ปากมดลูกจะกลับมาเป็นปกติ  ทำให้สามารถตั้งครรภ์ได้

3. กินยาคุมกำเนิดแล้ว “ไม่จำเป็นต้องป้องกัน”

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าไม่มีวิธีใดที่สามารถคุมกำเนิดได้ 100% ในขณะเดียวกันยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงถึง 99.7% หากกินอย่างถูกวิธี จึงไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย แต่ยาคุมกำเนิดนั้นก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือช่วยรักษาโรค ฉะนั้นสาวๆ ที่มีความสัมพันธ์แบบ One night stand หรือแบบ Friend with Benefit ก็ควรจะมีวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ไม่สามารถช่วยป้องกัน หรือรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส  หรือโรคเอดส์ 
  • ผู้หญิงควรใช้ถุงยางอนามัย ร่วมกับยาคุมกำเนิด เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

4. ยาคุมกำเนิดทำให้ “เสี่ยงเป็นมะเร็ง”

ยาคุมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย แต่กลับลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่กับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้  

  • คนที่กินยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงเล็กน้อยในการเป็นมะเร็งเต้านม แต่เมื่อหยุดกินยาคุมไปความเสี่ยงก็จะลดลงเรื่อยๆ จนเท่าคนทั่วไปเมื่อหยุดกินยาคุมเกิน 10 ปี

หากสาวๆ มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำปรึกษาที่ถูกต้อง สามารถปรึกษาได้ที่มี ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทั่วไทย จะอยู่ที่ไหนก็ปรึกษาได้

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

Scroll to Top