คุมกำเนิดระยะยาว เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม?!

คุมกำเนิดระยะยาว เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม?!

ใครที่อยากจะมีลูก หรือต้องการวางแผนสร้างครอบครัว การคุมกำเนิดก็เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเหล่านั้นได้เช่นกัน เพราะว่าการคุมกำเนิดจะช่วยให้เราสามารถมีเวลาดูแลตัวเองมากขึ้นและยังช่วยให้สามารถจัดการเวลาให้มีความพร้อมสร้างครอบครัวมากด้วย

แต่หลายคนอาจเคยได้ความเชื่อผิดๆ ของการคุมกำเนิดมาว่า การคุมกำเนิดนานๆ นั้นทำให้เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม? เรามาหาคำตอบของเรื่องนี้ ในบทความนี้กันเลยค่ะ!

คุมกำเนิดระยะยาว เสี่ยงมีลูกยากจริงไหม?!

ไม่เป็นความจริงค่ะ เพราะการคุมกำนิดไม่ใช่สาเหตุของการทำให้มีลูกยาก หรือไม่สามารถมีลูกได้อย่างที่เชื่อกันแน่นอน แต่เป็นเพราะปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้มีลูกได้ยากนั่นเอง

การมีลูกยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย พฤติกรรมต่างๆ รวมถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้นของสาวๆ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีลูกยากเช่นกัน โดยสาเหตุของการมีลูกยากจะมี ดังนี้

สาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก

  • อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป โอกาสในการมีลูกยิ่งลดลง และเสี่ยงต่อการที่ลูกในท้องจะมีความผิดปกติมากขึ้น 
  • ร่างกายได้รับสารเคมีมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีจากเครื่องสำอาง สิ่งแวดล้อม หรือการกินอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี สารโลหะหนักอย่างตะกั่วที่สะสมในร่างกาย อาจส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ และทำให้เซลล์สืบพันธุ์เกิดความผิดปกติได้
  • เครียดบ่อย ความเครียดก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก เพราะฮอร์โมนจากความเครียดจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะไข่ไม่ตก ทำให้ไข่เจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ และยังทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว ฝังตัวในมดลูกได้ยากอีกด้วย 
  • ความผิดปกติของมดลูก และท่อนำไข่ เช่น มดลูกมีติ่งเนื้อ (Fibroids) มดลูกหดรัดตัวผิดปกติ (Adenomyosis) มดลูกอุดตัน ท่อนำไข่อุดตัน หรือสาวๆ ที่ภาวะการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ 
  • ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน การดื่มน้ำอัดลม การดื่มเหล้าสุราหรือของมึนเมา หรือสูบบุหรี่จัดๆ ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงมีลูกยากได้ 

และยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้มีลูกยาก เช่น ฮอร์โมนผิดปกติ หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งหากมีความผิดปกติที่นอกเหนือจากนี้ ซิสขอแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุดค่ะ

การคุมกำเนิดแต่ละแบบส่งผลต่อการมีลูกอย่างไร?

ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรายเดือน

กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ไปยับยั้งการตกไข่ ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ ดังนั้นหลังจากหยุดกินยาเม็ดคุมกำเนิด เมื่อฮอร์โมนในร่างกายปรับตัวแล้วก็จะสามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 1-2 เดือน แม้ว่าจะกินยาคุมต่อเนื่องกันเป็นเวลานานก็ไม่ทำให้มีลูกยาก 

หากหยุดกินยาคุมแล้วไข่ก็จะกลับมาตกตามปกติ สาวๆ ก็หมดกังวลไปได้เลยค่ะ เพราะหยุดกินยาคุมเมื่อไหร่ก็สามารถท้องได้แน่นอน

แผ่นแปะคุมกำเนิด

กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่จะถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง และเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อยับยั้งการตกไข่  ดังนั้นหลังจากหยุดใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด ก็จะกลับมาตกไข่ปกติอีกครั้งภายใน 1-3 เดือน เมื่อไหร่ที่สาวๆ พร้อมจะมีลูก สามารถนำแผ่นแปะคุมกำเนิดออกได้เลยทันที และจะกลับเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ได้ตั้งแต่หยุดใช้เลยล่ะ 

ยาฝังคุมกำเนิด

กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ค่อยๆ ปล่อยออกมาจากแท่งยาที่ฝังใต้ผิวหนัง แล้วไปยับยั้งการตกไข่ สามารถตั้งครรภ์ได้หลัง 1 ปี เมื่อนำยาคุมออก สำหรับสาวๆ คนไหนต้องการมีลูก ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เอาออก 

นอกจากนั้นยังมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมอีกด้วย เนื่องจากฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อย และไม่มีการสะสมในร่างกาย เมื่อเอาออกแล้ว ก็มีโอกาสท้อง แต่ต้องอดใจรอสักหน่อยนะคะ

ยาฉีดคุมกำเนิด

เป็นการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้ากล้ามเนื้อจะเข้าไปยับยั้งการตกไข่ สำหรับยาคุมกำเนิดประเภทนี้ ต้องให้ร่างกายปรับสภาพโดยใช้เวลาประมาณ 10 เดือน – 1 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้นจนกว่าไข่จะตกตามปกตินะคะ 

แต่ก็ไม่ได้ส่งผลทำให้มีลูกยากอย่างที่คิดเลย เพียงต้องรอระยะเวลาไข่ตกนานกว่าการใช้ยาคุมประเภทอื่นสักหน่อย อย่าเพิ่งใจร้อนไปนะคะสาวๆ ของแบบนี้ต้องใช้เวลานิดนึง แค่เพียงอึดใจเดียว เจ้าตัวน้อยก็จะมาแล้วค่ะ

แต่ไม่ว่าจะเป็นการคุมกำเนิดแบบไหน เราก็ไม่ควรที่จะเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบมั่วๆ นะคะ เพราะเราอาจได้การคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะกับเราและอาจส่งผลกระทบกับร่างกายได้ค่ะ เพื่อการเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะกับร่างกายเราที่สุด ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้งนะคะ

สำหรับสาวๆ คนไหนที่อยากอ่านเกี่ยวกับการเลือกคุมกำเนิดเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้ค่ะ ‘การเลือกคุมกำเนิด

และหากสาวๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

Scroll to Top