เรื่องจริงหรือจ้อจี้ กินยาคุมกำเนิดแล้วเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงไหม!?

กินยาคุมกำเนิด เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงไหม!?

มะเร็งตัวร้าย!! โรคยอดฮิตที่ผู้คนเป็นกันเยอะมากในทุกๆ ปี และเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย แต่สาวๆ รู้รึเปล่า..ว่าบริเวณหน้าอก หรือเต้านมนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากกว่าส่วนอื่น โดยเฉพาะ ‘โรคมะเร็งเต้านม’ !

ซึ่งความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมนั้นมีหลายปัจจัย และเรื่องนี้ก็ยังมีข้อสงสัยอื่นๆ ที่หลายคนอาจเคยได้ยินมากันบ้างแล้ว และซิสเชื่อว่าหนึ่งในนั้นก็คือ กินยาคุมกำเนิดแล้วมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงไหม? ซึ่งเป็นคำถามสุดฮิตที่สาวๆ หลายคนสงสัยกันเป็นอย่างมาก ว่าเรื่องนี้จริง หรือว่าจ้อจี้กันแน่…

จ้อจี้ไหม?’ ‘กินยาคุมแล้วมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมจริงรึเปล่า?’  ใครที่สงสัยว่าจริงหรือจ้อจี้ ซิสมีคำตอบมาให้ ในบทความนี้แล้วค่ะ! เราไปเริ่มอ่านกันได้เลยค่ะ…

ยาคุมกำเนิดกับความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมคืออะไร?

เป็นโรคร้ายที่เกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งเกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์ในร่างกาย และจะกลายเป็นเนื้องอกของมะเร็ง โดยอาการมะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่แสดงชัดเจนมากนัก จึงต้องใช้การสังเกตเต้านมของตัวเอง 

ยาคุม มะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านม

  • คลำพบก้อนบริเวณเต้านม
  • หัวนมบุ๋ม 
  • มีผื่นแดง หรือระคายเคืองบริเวณเต้านม
  • มีเลือด หรือของเหลวสีเหลืองไหลออกมา
  • อาการปวดเต้านม
  • รักแร้บวม

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม

  • พันธุกรรม: หากมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
  • อายุ: ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
  • น้ำหนักตัว: ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
  • การดื่มแอลกอฮอล์: ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การได้รับรังสี: กระตุ้นให้เกิดมะเร็ง

___

แล้วกินยาคุมกำเนิด เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงไหม?

มะเร็งเต้านมนั้นมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งทั้งภายในและภายนอก หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งก็คือ “ฮอร์โมน” ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนตามธรรมชาติผิดปกติ โดยมีฮอร์โมนดังกล่าวในอัตราที่สูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเป็นเหตุให้มีความเสี่ยงเนื้อเยื่อเต้านมผิดปกติเพิ่มสูงขึ้นได้ 

การกินยาคุมกำเนิดอาจเพิ่มอัตราความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมได้เล็กน้อย การกินยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น กินยาคุมต่อเนื่องเกิน 10 ปี ขึ้นไป และกินตั้งแต่ช่วงมีประจำเดือนครั้งแรก  ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนสูง จึงเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมนั่นเอง แต่ความเสี่ยงนี้จะค่อยๆ ลดลงหลังหยุดกินยาคุมกำเนิด และจะกลับมามีความเสี่ยงเท่ากับคนปกติ

ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม เมื่อกินยาคุมกำเนิด

  • ผู้ที่กินยาคุมต่อเนื่องเกิน 10 ปี ขึ้นไป
  • เริ่มกินยาคุมตั้งแต่มีประจำเดือนครั้งแรก และกินติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • กลุ่มเสี่ยง
    • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
    • ดื่มแอลกอฮอล์
    • ภาวะน้ำหนักเกิน

ทุกคนที่อ่านมาถึงตอนนี้ก็อาจเริ่มหวาดหวั่น แต่การกินยาคุมกำเนิดทำให้เกิดความเสี่ยงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยผู้ที่อาจมีความเสี่ยง จะเป็นผู้ที่เริ่มกินยาคุมตั้งแต่มีประจำเดือนครั้งแรก หรือกินติดต่อกันต่อเนื่อง 10 ปีขึ้นไปนั่นเอง

มะเร็งเต้านม

แต่ไม่ว่ายังไงสาวๆก็ควรหมั่นตรวจเช็กเต้านมของตัวเองอยู่เสมอ ถึงแม้จะไม่ได้กินยาคุมกำเนิดเลยก็ตาม เพราะสาวๆ ทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว 

โดยสามารถตรวจเช็กเองง่ายๆ อย่างการคลำหาก้อนผิดปกติบริเวณเต้านม หรือจะไปพบแพทย์ให้ตรวจให้อย่างละเอียดก็สามารถทำได้ค่ะ

__

แม้ว่ายาคุมกำเนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีข้อดีอีกมากมายในตัวยาคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิดสามารถช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ 

ยาคุมกำเนิดยังมีข้อดีอื่นๆ นอกจากที่กล่าวไป ทุกคนสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้เลย!  ‘5 ประโยชน์ของยาคุมกำเนิด ที่มากกว่าแค่คุมกำเนิด

___

และหากสาว ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

___

แหล่งที่มาข้อมูล: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี

กินยาคุมนาน ๆ เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่

Scroll to Top