อย่าละเลย! อาการ “ปวดท้องน้อย” บ่อยๆ ปล่อยไว้อาจอันตรายกว่าที่คิด

หากพูดถึงเรื่องของการ ปวดท้องน้อย แล้ว หลายคนอาจจะนึกว่าต้องเป็นอาการที่เกิดขึ้นในผู้หญิงเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริง อาการปวดท้องน้อยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและในผู้หญิง ถึงแม้ในผู้หญิงจะมีโอกาสพบได้มากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงจะมีโอกาสปวดท้องน้อยตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปี (เริ่มมีประจำเดือน) ไปจนถึงอายุประมาณ 50 ปี (วัยหมดประจำเดือน)แล้วเราจะมีวิธีการรับมือกับอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างไรได้บ้าง ตามมาดูพร้อมๆ กัน

ปวดท้องน้อย มีอาการอย่างไร

อาการปวดท้องน้อยนั้นไม่มีระบุลักษณะการปวดที่แน่นอน ตายตัว โดยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น อาทิ ปวดเจ็บ ปวดหน่วง หรือปวดบิดเป็นพักๆ ที่บริเวณท้องน้อย (ระดับใต้สะดือลงมาที่บริเวณหัวหน่าว) บางครั้งก็อาจปวดร้าวไปตามอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นที่ก้นกบกับต้นขา ซึ่งอาจปวดเป็นพักๆ หรือปวดอยู่ตลอดเวลา ส่วนอาการปวดในเพศหญิงนั้นก็อาจเกี่ยวข้องกับระยะของประจำเดือน การปัสสาวะ การถ่ายอุจจาระหลังจากการรับประทานอาหาร การนอน หรือการยืนระหว่าง หรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์

การรักษาอาการปวดท้องน้อย

เมื่อเกิดอาการปวด หรือเจ็บบริเวณท้องน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดร่วมกับความผิดปกติทางปัสสาวะ อาทิ ปัสสาวะแสบ ขัด หรือปัสสาวะเป็นเลือด ความผิดปกติทางอุจจาระ อาทิ อุจจาระเป็นเลือด และ/หรือมีสารคัดหลั่งออกมาทางอวัยวะเพศ เช่น หนอง ตกขาว แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำเพื่อตรวจหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป อีกทั้ง เมื่อแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยอาการปวดท้องน้อยจนรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร แพทย์ก็จะให้การรักษาไปตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุและประวัติการมีบุตรของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ก็จะช่วยให้อาการปวดที่มีหายไป ดีขึ้น หรือไม่แย่กว่าที่เป็นอยู่ โดยมีวิธีการรักษาต่างๆ ดังนี้

อาการปวดท้องน้อยนั้นมีทั้งชนิดที่เฉียบพลันและเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดจากอวัยวะอื่นๆ ใกล้เคียงได้เช่นกัน จนทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างฉุกเฉิน ซึ่งอาจจะเป็นการรักษาโดยใช้ยา การผ่าตัด หรือเป็นแพทย์ทางเลือกก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสาเหตุ โดยแพทย์ที่มีความชำนาญจะเป็นผู้ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยอย่างถูกต้องและตรงจุดค่ะ

Scroll to Top