ปวดท้องน้อย แต่ประจำเดือนไม่มา สัญญาณบ่งโรคที่ต้องระวัง

อาการปวดท้องน้อย เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นกับสาวๆ หลายคน เพราะจะมีอาการคล้ายกับการปวดท้องประจำเดือน ที่แต่ละคนอาการจะน้อยหรือมากไม่เท่ากัน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นตัวบอกโรคได้เลยว่าผิดปกติหรือไม่ มาเช็คไปพร้อมๆ กันเลย

ปวดท้องน้อย ประจำเดือน

โรคที่เกิดในระบบสืบพันธุ์

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในระบบนี้ ได้แก่ โรคเนื้องอกมดลูก และโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งจะมีอาการปวดประจำเดือนมาก ประจำเดือนมามาก มีลักษณะเป็นลิ่มเลือดหรือเป็นก้อน เวลาปวดจะปวดประจำเดือนและมักปวดร้าวไปทั้งหลัง ก้น จนถึงขา

โรคที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะ

พบได้บ่อยโดยเกิดจาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท่อปัสสาวะอักเสบ, นิ่ว, กรวยไตอักเสบ เป็นต้น มักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับปัสสาวะสามารถที่สังเกตได้ทันที เช่น รู้สึกแสบขัดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด และปวดท้องน้อยร่วมด้วย หรือสีของน้ำปัสสาวะมีความผิดปกติ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด มีฟอง สีขุ่น

โรคที่เกิดในระบบลำไส้

ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งในกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติที่ทางเดินอาหารหรือสำไส้ คนไข้จึงมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือด หรือถ่ายเหลว ร่วมด้วย

โรคที่เกิดในระบบกล้ามเนื้อ

มักพบว่าเป็นไปตามประวัติการใช้งานของคนไข้ อาการคือปวดบริเวณหน้าท้อง ท้องน้อย ไปจนถึงหัวหน่าว คนไข้ที่ปวดบริเวณนี้มักจะมีประวัติยกของหนัก หรือเกร็งกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายอย่างหนัก

อาการปวดท้องน้อย…ป้องกันได้!

การดูแลตัวเอง โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักผ่อนคลายความเครียดเพื่อให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งในขณะมีประจำเดือนควรทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เพื่อไม่ให้ลำไส้เกิดการบีบรัดเกินไป จะช่วยทุเลาอาการปวดท้องน้อยได้

แต่ถ้าอาการปวดท้องน้อยในช่วงมีประจำเดือน

สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร รวมถึงการกินยาคุมกำเนิดสูตร 24+4 ที่มีเม็ดยา 24 เม็ด และเม็ดแป้ง 4 เม็ด จะช่วยลดการแกว่งของระดับฮอร์โมนได้ร่างกาย จึงช่วยลดการแปรปรวนในช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ดี จึงช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือน รวมถึงอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) อื่นๆ ได้ เช่น อาการอ้วนบวม พุงป่อง คัดตึงหน้าอก เป็นสิว อารมณ์เหวี่ยงวีน เป็นต้น

ใครที่มีอาการตามข้างต้น อย่าไว้วางใจ รีบสำรวจตัวเองและพบไปแพทย์ทันที เมื่อมีอาการผิดปกติจะได้รักษาได้ทันถ่วงทีนะคะ

และหากสาว ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

Scroll to Top