เป็นสิว ผิวมัน ฝ้า ริ้วรอยก่อนวัย! ปัญหาผิวชุดใหญ่จากฮอร์โมน

เป็นสิว ผิวมัน ฝ้า ริ้วรอยก่อนวัย! ปัญหาผิวชุดใหญ่จากฮอร์โมน

ฮอร์โมนมีอิทธิพลกับผิวมากกว่าที่คิดนะคะสาวๆ โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงอย่าง “เอสโตรเจน” และ “โปรเจสเตอร์โรน” หากเกิดความผิดปกติอาจส่งผลให้ผิวต้องเจอกับปัญหาสิว ฝ้า กระ รวมถึงริ้วรอย ได้นะคะ

วันนี้ PHARMASIS – ร้านยาที่เข้าใจผู้หญิง จะมาพูดถึงปัญหาผิวที่สาวๆ ต้องเจอหากเกิดภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลกันค่ะ

สิว

สิว

ปัญหาผิวที่เกิดจากร่างกายที่ผลิตน้ำมันมากเกินไป แล้วเกิดการอุดตันของผิวหนังที่ตายแล้วลงไปในรูขุมขน และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงก็เป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้เกิดสิว จนอาจเกิดปัญหาผิวต่อเนื่อง เช่น สิวอักเสบ รอยดำ รอยแดง รอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว

ความรุนแรงของสิวจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1.ระดับเริ่มต้น : จะมีสิวไม่อักเสบเป็นส่วนใหญ่ มีสิวอักเสบปนอยู่เล็กน้อย แต่รวมกันไม่เกิน 10 เม็ด

2.ระดับปานกลาง : อาการเหมือนระดับเบื้องต้น แต่มีจำนวนเกิน 10 เม็ด

3.ระดับรุนแรง : มีสิวอักเสบหัวหนองเป็นจำนวนมาก และมักเกิดซ้ำๆ

วิธีการรักษาสิว จะแบ่งตามอาการ

ถ้ายังเป็นสิวระดับเริ่มต้นอาจใช้ยาชนิดทา แต่สำหรับระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ใช้ยากินร่วมด้วย

บางรายอาจจะใช้ยาคุมกำเนิดร่วมด้วย เพราะในยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมน “เอสโตรเจน” และ “โปรเจสเตอร์โรน” ที่เข้าไปปรับฮอร์โมนแอนโดรเจนให้ลดลง รูขุมขนก็จะเล็กลง และ ความมันบนใบหน้าลดลง ทำให้สิวค่อยๆ ดีขึ้นอีกด้วย

สำหรับยาคุมกำเนิดที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเพื่อการรักษาสิวจะเป็น “ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม” ที่มีตัวยาดรอสไพรีโนน (Drospirenone) เป็นส่วนประกอบ เพราะนอกจากจะมีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชายตัวการของการเกิดสิว ผิวมัน ยังช่วยต้านการบวมน้ำ ไม่ทำให้อ้วน บวม หรือน้ำหนักขึ้น ทั้งนี้สาวๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิวนะคะ เพื่อจะได้เลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่เหมาะกับร่างกายของแต่ละคนมากที่สุด

🖱️ ค้นหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องยาคุมกำเนิดเพื่อการรักษาสิวใกล้บ้าน คลิกที่นี่  www.pharmasis.neversurrender.in.th

🔍 รู้จักวิธีการเลือกยาคุมกำเนิดเบื้องต้นที่นี่ www.neversurrender.in.th/ชวนสาวๆ-มือใหม่หัดคุม/

ฝ้า

ปัญหาผิวที่เกิดจากเม็ดสีผิว (เมลานิน) ทำงานมากเกินไปจากการที่ผิวต้องพบเจอกับแสงแดดที่มากขึ้น สรุปได้ว่ายิ่งเจอแดดมาก ฝ้าก็จะยิ่งมีมากขึ้นนั่นเอง โดยต้นเหตุเกิดจากรังสี UVA ในแสงแดด เข้าไปทำลายผิวในชั้นลึก เพราะช่วงคลื่นของรังสี UVA ยาวกว่ารังสี UVB นั่นเอง

นอกจากแสงแดดแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อย่างการใช้เครื่องสำอางค์บางชนิด การใช้ยาบางประเภท กรรมพันธุ์ รวมถึง “ฮอร์โมนเพศหญิง” หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็ส่งผลให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน

โดยฝ้าจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.ฝ้าแบบตื้น : ลักษณะเป็นสีน้ำตาล ขอบชัด รักษาง่าย มักจะเกิดบนบริเวณผิวชั้นนอก

2.ฝ้าแบบลึก : ลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมฟ้า หรือ อมม่วง รักษาค่อนข้างยาก เพราะเกิดบริเวณลึกกว่าผิวชั้นหนังกำพร้า

วิธีการรักษาฝ้า

ส่วนใหญ่การรักษาฝ้าจะเน้นไปเรื่องของการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ AHA, วิตามินซี, อาร์บูติน (Arbutin), หรือส่วนผสมที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการแพทย์เช่น เลเซอร์  ฉีดสเต็มเซลล์ เป็นต้น แต่ถึงอย่างไร “การป้องกันคือสิ่งที่ดีที่สุด” ในการรักษาหน้าให้ปราศจากฝ้า ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด และ ทาครีมกันแดดที่มี SPF30+ PA+++ ส่วนในผู้ใช้ยาคุมกำเนิดควรเลือกใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ยาคุมกำเนิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝ้าในภายหลังค่ะ

🖱️ ค้นหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องยาคุมกำเนิดเพื่อผิวใสไร้ฝ้า คลิกที่นี่  www.pharmasis.neversurrender.in.th

ริ้วรอย

ปัญหาผิวที่เกิดจากโปรตีนที่มีหน้าที่อุ้มน้ำในชั้นหนังแท้ถูกผลิตน้อยลง ทำให้ผิวดูแห้งกร้าน หมองคล้ำ เริ่มมีริ้วรอยมากวนใจ เพราะฮอร์โมน “เอสโตรเจน” และ “โปรเจสเตอร์โรน”  ในร่างกายของสาวๆ เสื่อมถอยไปตามไลฟ์สไตล์นั่นเองค่ะ

ริ้วรอยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.Static line  ริ้วรอยทั่วไปที่เกิดจากปัญหาผิวขาดคอลลาเจน

2.Dynamic line ริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงอารมณ์ซ้ำๆ บ่อยๆ เช่น หัวเราะ ขมวดคิ้ว รอยย่นที่หน้าผากจากการเลิ่กคิ้ว เป็นต้น

3.Wrinkle fold ริ้วรอยที่เกิดจากภาวะผิวหนังหย่อนคล้อย รวมถึงชั้นไขมันที่ลดลงไปตามกาลเวลา

วิธีการดูแลรักษาริ้วรอย

ริ้วรอยเป็นปัญหาผิวที่ต้องแก้ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์แบบต่างๆ ไม่ว่าเป็นเลเซอร์ โบท็อกซ์ และฟิลเลอร์ แต่ก่อนจะต้องพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์เหล่านั้น สาวๆ ควรดูแลตัวเองให้สุขภาพร่างกาย และ ฮอร์โมนทำงานเป็นปกติด้วยวิธีดังนี้

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่เบา ไม่หนักเกินไป เช่น การทำคาร์ดิโอ เต้นแอโรบิค หรือ ว่ายน้ำ ครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง

  1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่

เน้นอาหารจำพวกโปรตีน และ มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน ทูน่า เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดมัน ควบคู่กับการกินผักเป็นประจำ

  1. อย่าเครียดจนเกินไป

เพราะทุกครั้งที่เครียดร่างกายจะหลั่งสารเคมี ที่อาจส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ดูแลรูปร่างไม่ให้อ้วน หรือ ผอมจนเกินไป

เพราะน้ำหนักตัวส่งผลกับฮอร์โมนที่จำเป็นในการตกไข่ หากสาวๆ ปล่อยตัวเองให้อ้วน หรือ ผอมจนเกินไป อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ค่ะ

  1. ใช้ยาคุมเพื่อปรับฮอร์โมนในร่างกายให้คงที่ ไม่แปรปรวน ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมกับ PHARMASIS – ร้านยาที่เข้าใจผู้หญิง

🖱️ ค้นหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุขภาพผู้หญิง คลิกที่นี่  www.pharmasis.neversurrender.in.th

Scroll to Top