ยาคุมกับสิว เรื่องสวย ๆ งาม ๆ ที่ผู้หญิงควรรู้! By คุณหมอด้านความงาม

สมัยนี้ผู้หญิงเราเลือกยาคุมก็จะต้องดูคุณสมบัติที่มีผลต่อผิวพรรณ อย่างลดสิว ลดผิวมันประกอบการตัดสินใจด้วยเนอะ ก็แหม เรื่องความสวยยอมกันได้ที่ไหน ว่าแต่ยาคุมช่วยเรื่องสิว-ผิวได้ยังไง ตัวไหนเริดสุด ดีสุด อยากรู้แบบชัดๆ ต้องไปถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและความงามเลย จะได้ตรงจุด เผื่อได้ตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่าเดิม! #ผิวใสหน้าปัง

ยาคุมช่วยลดสิว ลดผิวมัน ช่วยหน้าใสได้จริงเหรอ? 

“เราทราบกันดีว่า สิวเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน และความมันบนใบหน้าที่มากเกินไป (hyperkeratinization & sebum overproduction) และตามมาด้วยการอักเสบ และการเพิ่มขึ้นของเชื้อ P. Acne ที่ผิวหน้า แต่คนไข้ส่วนมากจะกังวลเฉพาะสิวอักเสบและรอยบนใบหน้า และมักรักษาสิวที่ปลายเหตุ สุดท้ายสิวก็กลับมาอีก สิ่งที่หมอกังวลจะตรงข้ามกับคนไข้ครับ เราพยายามรักษาสิวที่ต้นเหตุโดยตรง ซึ่งการรักษานี้ทำได้ง่าย ๆ โดยการใช้ยาทา หรือยารับประทานเพื่อลดความมันบนใบหน้าและลดการอุดตันของรูขุมขน”

“สาว ๆ เดี๋ยวนี้เป็นสิวกันมากขึ้นนะครับ โดยเฉพาะสาวๆ ในช่วงวัย 30+ สำหรับการรักษาสิวในผู้หญิงด้วยยาทาแล้วไม่หายขาด และมักมีอาการกำเริบอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าคนไข้จะทายาเป็นประจำสม่ำเสมอ ในเคสแบบนี้เราอาจพิจารณาการให้ยารับประทานร่วมด้วยครับ แต่ผู้หญิงบางคนก็มีข้อจำกัดในการทานยาบางประเภท ในคนไข้กลุ่มนี้หมอจะพิจารณาให้รับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อการรักษาสิว ซึ่งก็มักเกิดคำถามว่า

ยาคุมรักษาสิวได้ด้วยเหรอ?

“ยาคุมทั่วไปรักษาสิวไม่ได้นะครับ แต่ยาคุมกำเนิดในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย(ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนี่แหล่ะเป็นตัวทำให้เกิดสิวในผู้หญิง) ได้แก่ Dros pirenone (ดรอสไพรีโนน) และ Cyproteroneacetate ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดความมันบนใบหน้าและลดการอุดตันของรูขุมขน ซึ่งเป็นต้นเหตุหลักของการเกิดสิว ยิ่งถ้าคนไข้จำเป็นต้องคุมกำเนิดร่วมด้วยอยู่แล้ว ก็ถือว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวเลย สำหรับ Dros pirenone ยังช่วยต้านอาการบวมน้ำของเนื้อเยื่อ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่า รับประทานยาคุมแล้วจะอ้วนขึ้น และไม่ก่อให้เกิดการคัดตึงเต้านมระหว่างการรักษาอีกด้วย ในขณะที่ยังพบปัญหาเหล่านี้ในการใช้ Cyproteroneacetate จึงเป็นสาเหตุที่ผู้ใช้มักจะหยุดยาก่อนได้ผลการรักษา เนื่องจากทนต่อปัญหาอ้วนบวมไม่ได้

“การรักษาสิวด้วยยาคุมกำเนิดกลุ่มนี้มีความปลอดภัยสูง และผลข้างเคียงต่ำมากนะครับ จากการศึกษาวิจัยพบว่า คนไข้ที่รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 9 รอบเดือน ตอบสนองต่อการรักษาดีถึง 90%

“สิวเป็นโรคที่รักษาไม่ยากนะครับ และไม่ควรมีใครเป็นสิวจนเกิดรอยแผลเป็น หมอคิดว่า สิ่งที่ยากที่สุดของการรักษาสิว คือ ความเข้าใจของคนไข้ถึงการรักษาสิวที่ต้นเหตุ ไม่ใช่รักษาเฉพาะสิวที่ตัวเองกังวล และการทำความเข้าใจว่า การทายาและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องนั้นไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงหรือเกิดการสะสม หากอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์

“สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า “สิว” ไม่ใช่ “ไข้หวัด” นะครับจะได้กินยา 7 วันแล้วหาย การกินยารักษาสิวควรกินต่อเนื่อง 6-9 เดือน ดังนั้นหมอ ๆ เรามักจะเลือกใช้ยาที่ปลอดภัยในการรับประทานในระยะยาวครับ”

หมออาร์ม – นายแพทย์วรพจน์ ศิรามังคลานนท์ Medical Director of Hertitude Aesthetic Medical,
AMI Trainer Thailand

เช็คยาคุมที่กินอยู่ด่วน ๆ

รู้อย่างนี้แล้ว สาวๆ ที่กินยาคุมอยู่รีบเช็คกันด่วนๆ เลยว่าตัวยาที่เรากินอยู่เป็นตัวไหน สูตรใด ข้อมูลตรงนี้สำคัญนะ เห็นบางคนกินตามเพื่อน กินตามเนตโดยไม่เคยรู้อะไรเลย การรู้ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มาก เราจะได้เลือกตัวที่ตอบโจทย์ความต้องการของเรามากที่สุด อย่างถ้าเราให้ความสำคัญกับเรื่องลดสิว-ผิวใส ก็จะได้เลือกตัวยาที่เริดที่สุดในด้านนี้ ของแบบนี้มันต้องตามหาเนอะ (อย่างกับเนื้อคู่)

แอบบอกตอนที่ได้ข้อมูลนี้มา เพื่อนโต๊ะข้าง ๆ ก็แอบหยิบยาคุมยี่ห้อ เมโลเดีย (Melodia) ของนางขึ้นมาเช็คเหมือนกันว่ามันเป็นตัวยาไหน จะโอเคในเรื่องสิว ผิวมันด้วยไหม เราเลยถือโอกาสเอายาคุมของนางมาเป็นตัวอย่างในการอธิบายด้วยเลย ว่าเราควรดูตรงไหนบ้าง จะได้รู้จักตัวยาที่เรากินอยู่

สูตร 21 เม็ด

ตรงนี้จำเป็นมากที่ต้องรู้ เพราะเราจะได้กินถูก หมดแผงต้องเว้นหรือไม่ต้องเว้น ตัวนี้เป็นสูตร 21 เม็ด ก็คือ สำหรับกิน 21 วัน เว้น 7 วัน โดยมีลูกศรและวันกำกับ ดูง่าย ไม่งง (ชอบที่ในเอกสารกำกับยาบอกวิธีกินละเอียด แถมมีคำแนะนำกรณีลืมกินยาด้วย)

สูตร ดรอสไพรีโนน + Ethinylestradiol 0.03 mg

ข้างกล่องระบุชื่อตัวยาหลัก 2 ตัว ตัวแรกคือ Dros pirenone 3 mg (ดรอสไพรีโนน) เจ้าตัวยานี้ไงที่คุณหมออาร์มพูดถึง มันคือตัวยาใหม่ที่ช่วยเรื่องผิวพรรณและเรื่องอ้วนซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ คือมันช่วยลดความมัน ลดสิว ไม่ทำให้อ้วน บวม ด้วย พร้อมลดอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) เช่น พวกสิวเม็ดเป้ง คัดตึงหน้าอก พุงป่อง ท้องอืด ตัวบวมๆ

ส่วนอีกตัว คือ Ethinylestradiol 0.03 mg ตัวนี้จะเป็นตัวที่ระบุว่ายาคุมเป็นสูตรฮอร์โมนต่ำไหม (สูตรฮอร์โมนต่ำคือ ไม่เกิน 0.03 mg) ซึ่งฮอร์โมนที่ต่ำลงก็จะช่วยลดผลข้างเคียงจากยาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ปวดหัว ดังนั้น ครั้งหน้าเวลาไปซื้อยาคุมต้องดูตรงนี้ด้วยนะ

สรุปแล้วเวลาไปซื้อยาคุมก็ต้องดูจำนวนเม็ดยาเพื่อให้กินอย่างถูกต้อง และดูตัวยาหลักเพื่อประเมินผลข้างเคียงก่อนจะเลือกให้เข้ากับความต้องการของเรา ยิ่งถ้าใครเจาะจงเรื่องสิว-ผิวมัน ก็อาจจะลองเปลี่ยนมาเลือกสูตรยาที่ช่วยลดสิว-ลดผิวมัน อย่างดรอสไพรีโนนและฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น แค่นี้สาว ๆ ก็จะกินยาคุมได้แบบสวย ๆ แล้วจ้า

ขอขอบคุณ : Sudsapda

Scroll to Top