PMS & PMDD ตัวการ ‘ปวดท้องเมนส์’ และ ‘อารมณ์แปรปรวน’ ก่อนมีประจำเดือน!

PMS หรือ PMDD ? มาเช็คกันคุณมีอาการเด่น ๆ ของภาวะเหล่านี้รึเปล่า !

หงุดหงิดจริงจริ๊งงง ทำไมเห็นอะไรก็ชวนหงุดหงิดไปหมด แฟนถามว่าวันนี้จะกินอะไรก็อยากจะด่าขึ้นมาไม่มีเหตุผล ผ่านไปอีกนาทีก็อยากจะร้องไห้ อารมณ์แปรปรวนขึ้นลงยิ่งกว่านั่งรถไฟเหาะ แถมอาการปวดท้องเมนส์ก็เล่นงานเราไม่หยุดมาหลายวันติด น้ำหนักก็ขึ้น ตัวก็บวม ปกติฉันไม่ได้เป็นแบบนี้นะ ใครก็ได้ช่วยด้วย ฉันเป็นอะไรเนี่ยยย~~

ใจเย็นๆ นะคะสาวๆ ทุกคน เพราะอาการแบบนี้เป็นอาการปกติที่เกิดกับสาวๆ ส่วนใหญ่ในช่วงก่อนมีประจำเดือนค่ะ เพื่อให้สาวๆ เข้าใจสาเหตุ และวิธีรับมืออารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย รวมถึงอาการปวดท้องเมนส์ ซิสเลยจะมาช่วยสาวๆ คลายกังวลกับเรื่องนี้เองค่ะ เพราะงั้นสาวๆ ทุกคนไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกหรือรู้สึกโดดเดี่ยวกับอาการที่ตัวเองเป็นอยู่นะคะ 

ปวดท้องเมนส์ เป็นอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)

PMS (Premenstrual Syndrome) คือ กลุ่มอาการทางอารมณ์ และร่างกายที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนค่ะ โดยสาวๆ ประมาณ 90% ต้องเคยประสบพบเจอกับอาการนี้กันอยู่แล้ว แต่อาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน

ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงรอบเดือน โดยฮอร์โมนเหล่านี้ส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก และความอยากอาหารค่ะ (เพราะงั้นถ้ารู้สึกหิวมากกว่าปกติในช่วงก่อนมีประจำเดือนก็อาจมาจากสาเหตุนี้ด้วยนะคะ)

อาการก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • อารมณ์แปรปรวน
  • หงุดหงิดง่าย
  • รู้สึกเศร้าหรือซึมเศร้า
  • วิตกกังวล
  • นอนไม่หลับ
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดหัว
  • เจ็บหน้าอก
  • ท้องอืด
  • น้ำหนักขึ้น

โดยอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเองหลังหมดประจำเดือนค่ะ เพราะฉะนั้นสาวๆ ไม่ต้องกังวลนะคะ แต่หากต้องการหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ สามารถใช้ตัวช่วยอย่าง ยาคุมฮอร์โมนต่ำ หรือ ยาคุมกำเนิดแบบ 24+4

_____

แต่ก็ยังมีสาวๆ อีกประมาณ 10-15% ที่มีอาการรุนแรงกว่าสาวๆ คนอื่น ซึ่งเราจะเรียกอาการก่อนมีประจำเดือนที่มีความรุนแรงกว่าปกตินี้ว่า PMDD

อาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง หรือ PMDD

PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) หรืออาการก่อนมีประจำเดือนชนิดที่มีความรุนแรงกว่า PMS แต่ส่งผลต่ออารมณ์อย่างมีนัยสำคัญ จนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ยิ่งสาวๆ บางคนที่มีภาวะความเครียดยิ่งส่งผลกระทบสูงกว่าปกติ จึงแบ่งลักษณะอาการของ PMDD ออกเป็น 2 แบบ

อาการของ PMDD ทางร่างกาย (มีความคล้ายคลึงกับ PMS มาก)

  • อ่อนเพลียหรือไม่มีพลังงาน
  • ปวดศีรษะ
  • เจ็บหน้าอก
  • ท้องอืดหรือปวดท้อง
  • ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
  • บวมน้ำ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

อาการของ PMDD ทางอารมณ์

  • อารมณ์แปรปรวนรุนแรง
  • รู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง
  • วิตกกังวลหรือหงุดหงิดมาก
  • โมโหร้ายหรืออารมณ์ฉุนเฉียว
  • รู้สึกท้อแท้หรือไร้ค่า
  • สมาธิสั้นหรือหลงลืม
  • นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป
  • เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมาก
  • ความคิดจะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย

_____

 PMS และ PMDD ต่างกันอย่างไร?

PMS
(Premenstrual Syndrome)
PMDD
(Premenstrual Dysphoric Disorder)
กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน พบได้บ่อย ผู้หญิงประมาณ 90% อาการมีทั้งทางร่างกาย และอารมณ์ อาการมักไม่รุนแรง ไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถบรรเทาอาการด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตรูปแบบรุนแรงของ PMS พบได้น้อย ผู้หญิงประมาณ 3-8% อาการทางอารมณ์รุนแรง ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรม รบกวนการทำงาน และความสัมพันธ์ จำเป็นต้องได้รับการรักษา
รูปภาพอธิบายความแตกต่างระหว่าง PMS และ PMDD  พร้อมรูปแผงยาคุมสีม่วงและสีฟ้า
  • หากมีอาการไม่รุนแรง ไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก อาจมี PMS ซึ่งสามารถบรรเทาอาการด้วย 6 วิธีรับมือกับอาการ PMS หรือรอให้อาการค่อยๆ ดีขึ้นเอง
  • หากมีอาการรุนแรง ส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด พฤติกรรม การทำงาน หรือความสัมพันธ์ สาวๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมนะคะ

สิ่งสำคัญคือสาวๆ ทุกคนต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเองว่ามีลักษณะอย่างไร และเข้าเงื่อนไขอาการไหน เพื่อให้เราสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้องค่ะ

_____

และหากสาวๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย หรืออยากได้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุขภาพที่เข้าใจความต่างของผู้หญิง ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก!

Scroll to Top