ช่วงก่อนมีประจำเดือนเราจะสังเกตได้ว่า จะมีอาการบางอย่างเกิดขึ้นเช่น หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน อาการเหล่านี้ เป็นอาการขั้นต้นที่เรียกว่าอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS (Premenstrual Syndrome) แต่มีอีกอาการหนึ่งที่คล้ายกับ PMS แต่เป็นขั้นที่รุนแรงกว่าเรียกว่า PMDD
PMDD คืออะไร
PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder คืออาการก่อนประจำเดือนของผู้หญิง มีอาการทางด้านร่างกายที่คล้ายกับ PMS แต่เป็นขั้นรุนแรงกว่า PMS อาการที่ชัดเจนของ PMDD คือ อาการทางด้านจิตใจ และอารมณ์อย่างรุนแรง แต่ PMDD จะพบได้น้อยเพียง 2-10% ของผู้หญิงที่มีประจำเดือนเท่านั้น แต่อาการทางด้านอารมณ์รุนแรงกว่า PMS มาก
PMS และ PMDD ต่างกันยังไง เข้ามาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย
อาการของ PMDD
- อารมณ์ แปรปรวน
- วิตกกังวล
- หงุดหงิด โมโหง่าย
- มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
- เบื่อทุกอย่าง
- สิ้นหวัง ท้อแท้
สาเหตุของ PMDD
1.การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ความผิดปกติในระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปตามประจำเดือนอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของ PMDD
2.สุขภาพจิต บางครั้ง PMDD อาจเกิดขึ้นในบุคคลที่มีปัญหาทางจิตใจหรือสภาพจิตที่ไม่ดี เช่น โรคซึมเศร้าหรือความเครียด
3.ความเครียด บางครั้งความเครียดก็กระตุ้นให้อาการ PMDD เกิดขึ้นได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในร่างกาย
4.พันธุกรรม มีการสืบทอดพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับ PMDD ซึ่งหมายถึงถ้ามีญาติในครอบครัวที่มี PMDD มีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการเป็น PMDD มากขึ้น
การรักษา และบรรเทาอาการ
การรักษา PMDD นั้นจะมุ่งเน้นเพื่อบรรเทาอาการทางร่างกายและอารมณ์ที่มีการแปรปรวน
1.การใช้ยาเพื่อรักษา
- SSRIs (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) เป็นกลุ่มยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับซีโรโทนินในสมอง เช่น fluoxetine, sertraline, หรือ paroxetine
- การใช้ยาคุมกำเนิดที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำแบบ 24+4 ซึ่งยาคุมสูตรนี้มีข้อบ่งใช้ในการรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) รวมทั้งอาการก่อนมีประจำเดือนขั้นรุนแรง (PMDD) เนื่องจากยาคุมสูตรนี้ช่วยให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายคงที่ได้ดีกว่ายาคุมสูตรอื่น
2.การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต
- ออกกำลังกาย การออกกำลังกายประจำสัปดาห์อาจช่วยลดอาการ PMDD
- การดูแลสุขภาพทางจิต การพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อทำความเข้าใจ และจัดการกับอาการ PMDD
3.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหาร
- ลดการบริโภคกาแฟ น้ำตาล แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีคาเฟอีน
- เพิ่มการบริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียม วิตามิน B6 และกรดไขมันโอเมก้า 3
และหากสาวๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ
ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก