สัญญาณอันตราย บ่งบอกว่า ฮอร์โมนไม่สมดุล

7 สัญญาณอันตราย บ่งบอกว่า ฮอร์โมนไม่สมดุล

อาการผิดปกติต่างๆ ที่ทำให้เราไม่สบายตัว ปวดนู่นปวดนี่ จนทำให้คุณภาพชีวิตลดลง แต่คุณอาจหาสาเหตุไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร จริงๆ แล้วอาจมีสาเหตุมาจากสภาวะ “ฮอร์โมนไม่สมดุล”  เราจึงรวบรวมอาการของสภาวะนี้มาให้นะคะ

7 สัญญาณที่บอกว่าฮอร์โมนไม่สมดุล

1. รอบเดือนผิดปกติ

ปกติแล้วผู้หญิงจะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน แต่หากรอบเดือนมาบ่อยเกินไป หรือประจำเดือนขาด นั่นก็หมายความว่าเรามีฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง รวมไปถึงฮอร์โมนโปรเจสโตรโรน ที่เป็นตัวควบคุมการมาของประจำเดือนมากหรือน้อยเกินไป

2. นอนไม่หลับ หรือหลับยาก

นอกจากฮอร์โมนเมลาโทนินที่มีส่วนช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้นแล้ว ยังมีฮอร์โมนโปรเจสโตรโรน ที่ผลิตออกมาจากรังไข่คุณผู้หญิง ที่ช่วยให้คุณผู้หญิงนอนหลับได้สบายมากขึ้น แต่หากฮอร์โมนหนึ่งในสองชนิดนี้มีปริมาณต่ำกว่าปกติ ก็จะส่งผลต่อการนอนหลับได้เช่นกัน รวมไปถึงฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ถ้ามีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำกว่าปกติ ก็อาจทำให้คุณผู้หญิงรู้สึกร้อนวูบวาบ หนาวๆ ร้อนๆ หรือมีเหงื่อออกตอนกลางคืน ทำให้รบกวนการนอนหลับได้เหมือนกัน

ฮอร์โมนไม่สมดุล

3. สิวขึ้นมากผิดปกติ

สิวฮอร์โมนที่ขึ้นเป็นเม็ดๆ บนใบหน้าก่อนมีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้น่ากลัวอะไร แต่หากมีสิวขึ้นเป็นประจำไม่หายขาดเสียที อาจมีปัญหาที่ฮอร์โมนแอนโดรเจน ที่หากมีปัญหาจะส่งผลให้ต่อมไร้ท่อ และต่อมไขมันที่เซลล์ของผิวหนัง และรูขุมขนทำงานผิดปกติ จึงทำให้เกิดการอุดตันจนกลายเป็นสิวได้

4. เมื่อยล้า อ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา

เมื่อฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนน้อยลง อาจส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยล้า และพลังงานลดลง โดยอาจมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่มาจากการทำงานของต่อมไทรอยด์เอง หรืออาจจะเป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เองก็ได้

ฮอร์โมนไม่สมดุล

5. เครียด อารมณ์แปรปรวน

หากใครเคยได้ยินคำว่า ฮอร์โมนแปรปรวน หรือ Hormone Swing คงเข้าใจว่ามีอาการเป็นอย่างไร นอกจากอารมณ์หงุดหงิดโมโหง่ายแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังเป็นกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อสมองและอารมณ์อีกด้วย

6. ช่องคลอดแห้ง

โดยปกติแล้วหากคุณผู้หญิงมีช่องคลอดแห้ง ไม่มีน้ำหล่อลื่นระหว่างมีเพศสัมพันธ์บ้างเป็นบางครั้งยังไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งเกินไป อาจเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีปริมาณต่ำ ทำให้ช่องคลอดขาดความสมดุลในการทำงานตามไปด้วย

7.ความต้องการทางเพศลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ

ฮอร์โมนที่ควบคุมเรื่องความต้องการทางเพศของเพศชายคือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน แต่ในเพศหญิงเองก็มีฮอร์โมนนี้ด้วยเช่นกัน หากระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยเกินไป อาจส่งผลให้มีความต้องการทางเพศลดลงได้

ถ้าใครมีอาการตามข้างต้นอย่ารอช้า รีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อสาวๆ จะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น จะได้ไม่ต้องมากังวลใจให้สุขภาพจิตเสียนะคะ

และหากสาว ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

Scroll to Top