ปวดท้องประจำเดือน อาการที่เกิดกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยอาการจะหนักหรือจะเบา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงมักจะปวดประจำเดือนมากในช่วงแรกที่มีประจำเดือน แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน
โดยสาเหตุของการ ปวดท้องประจำเดือน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
-
ปวดท้องประจำเดือนระดับเบื้องต้น (Primary dysmenorrhea)
เป็นอาการปวดท้องประจำเดือนโดยทั่วไป ไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนของโรคใดๆ ซึ่งเกิดจากสารเคมีที่ชื่อว่า “โพรสตาแกลนดิน” (Prostaglandin) ที่หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงมีประจำเดือน ทำให้มดลูกบีบจนรู้สึกปวดท้อง
วิธีการดูแลอาการ ปวดประจำเดือน เบื้องต้น
- รับประทาน ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
- ใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนต่ำสูตร 24+4 จะช่วยกดการทำงานของรังไข่ จึงช่วยลดปริมาณประจำเดือน รวมถึงลดการหลั่งสาร โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ทำให้ลดการบีบตัวของมดลูก การรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนต่ำสูตร 24+4 จึงเป็นอีกวิธีที่ใช้รักษาอาการปวดท้องประจำเดือนได้
- ประคบร้อน เพื่อให้ความร้อนค่อยๆ คลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง
- ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกอบอุ่นจากภายใน จนอาการปวดค่อยๆ คลายลง
- ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ที่ช่วยบรรเทาอาการปวด
-
ปวดท้องประจำเดือนระดับรุนแรง (Secondary dysmenorrhea)
เป็นอาการปวดท้องประจำเดือนที่เป็นสัญญาณของโรค มักจะปวดรุนแรง และเรื้อรังกว่าอาการปวดท้องประจำเดือนเบื้องต้น
หากสาวๆ พบว่าตัวเองอยู่ในภาวะนี้ อาจเป็นสัญญาณว่าสาวๆ กับเสี่ยงกับโรคต่างๆ ดังนี้
เกิดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกาย เช่น ที่รังไข่ หรือเยื่อบุช่องท้องน้อย เป็นต้น ทำให้มีเลือดคลั่ง และเกิดการสะสมกลายเป็นถุงน้ำช็อกโกแลต หรือ “ช็อกโกแลตซีสต์” ที่หลายคนรู้จักนั่นเอง
- ถุงน้ำในรังไข่ (PCOS)
โดยปกติแล้วไข่ที่ไม่ได้รับการผสมแล้วจะถูกขับออกมาพร้อมรอบเดือน แต่ถ้าเกิดมีการไข่ข้างในมดลูกมากขึ้นจะส่งผลให้เกิดถุงน้ำในปริมาณมากขึ้น จนท้องบวมคล้ายมีครรภ์ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งถุงน้ำในรังไข่สามารถเจริญเติบโตเป็นซีสต์ หรือ มะเร็ง ได้อีกด้วย
- เนื้องอกในมดลูก
เนื้องอกจะมีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรงตามอาการ ซึ่งเนื้องอกจะทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูกมากขึ้น ทำให้รู้สึกปวดท้องมากกว่าปกตินั่นเอง
- พังผืดในมดลูก
เกิดจากการอักเสบ หรือ ติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานบ่อยครั้ง ทำให้ร่างกายสร้างพังผืดขึ้นมา ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดท้องน้อยอยู่บ่อย(ไม่เว้น)ๆ อาจมีอาการท้องผูก ปัสสาวะบ่อย และอาจส่งผลทำให้มีลูกยากอีกด้วย
- ปากมดลูกตีบ
เพราะปากมดลูกที่ตีบ ทำให้ประจำเดือนไหลออกจาโพรงมดลูกไม่สะดวก มดลูกจะมีการบีบตัวมากกว่าปกติ ทำให้ปวดท้องประจำเดือนมาก
จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ ปวดท้องประจำเดือน สามารถเป็นสัญญาณของโรคหลากหลายชนิด ผู้หญิงอย่างเราต้องหมั่นสังเกตตัวเอง และหากผิดปกติอย่าปล่อยไว้ ควรรีบเข้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุขภาพที่เข้าใจความต่างของผู้หญิง เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
ค้นหาที่ปรึกษาเรื่องสุขภาพผู้หญิงกับ PHARMASIS ได้ที่ http://www.pharmasis.neversurrender.in.th/