ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ “ยาคุมกำเนิด”

ยาคุมกำเนิด ความจริง vs. ความเชื่อ จริงหรือมั่ว?

สาวๆ หลายคนอาจเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “อย่ากินยาคุมเลย เดี๋ยวอ้วน” หรือ “กินยาคุมนานๆ แล้วจะท้องยาก” บทความนี้จะพาคุณไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาคุมกำเนิด พร้อมเผยความจริงที่ควรรู้ กับ 9 ความเชื่อผิดๆ ที่อาจทำให้คุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาคุมกำเนิด!

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับยาคุมกำเนิดที่ควรรู้

1. ยาคุมกำเนิด ทำให้อ้วน?

หนึ่งในความเชื่อขั้นพื้นฐานที่ทำให้สาวๆ เราลังเลใจเวลาจะเริ่มคุมกำเนิดด้วยการกินยาคุมฯ ซึ่งจะว่าไปก็ใช่ว่าจะเป็นความเท็จไปเสียหมด เพราะจากการศึกษาวิจัยในสหรัฐฯ พบว่าแม้จะยังไม่มีเหตุผลมารองรับอย่างตรงไปตรงมาว่าการกินยาคุมกำเนิดนั้นทำให้น้ำหนักขึ้นได้อย่างไร หรือมีสารเคมีตัวไหนที่สัมพันธ์กับความอ้วนบ้าง แต่กลับมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่กินยาคุมฯ บางยี่ห้อแล้วน้ำหนักขึ้นถึง 11 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) โดยเฉลี่ย ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับส่วนผสมของยาบางตัว ปัจจุบันมียาคุมสูตรใหม่ที่ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อน้ำหนักตัว และต้องดูพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายด้วยว่าสอดคล้องกันหรือไม่ และอะไรที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของความอ้วนกันแน่

  • ความจริงแล้ว ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ายาคุมทำให้อ้วน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจมาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น พฤติกรรมการกิน
  • ปัจจุบันมียาคุมสูตรใหม่ที่ลดผลข้างเคียงเรื่องน้ำหนัก

2. กินยาคุมฯ ไปนานๆ เข้า ทำให้ท้องยากขึ้น?

แม้ทั่วไปแล้วร่างกายจะใช้เวลา 6-9 เดือนเพื่อปรับฮอร์โมนซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากยาคุมฯ แต่ก็ใช่ว่าพอหยุดยาคุมฯ แล้วจะตั้งท้องในทันทีไม่ได้ ตามสถิติแล้วก็มีบ้างเหมือนกันที่กลายเป็นว่าที่คุณแม่ไม่นานหลังจากที่หยุดกินยาคุมฯ เพราะใช่ว่ายาคุมฯ จะทำให้กลายเป็นหมันไปตลอดกาลซะเมื่อไหร่! เอาเป็นว่าควรทานคุมจนถึงเวลาพร้อมจริงๆ นั่นล่ะค่อยหยุดยาจะดีที่สุดนะจ๊ะ

  • ไม่จริง! ร่างกายใช้เวลาปรับฮอร์โมนหลังหยุดยา 6-9 เดือน
  • มีโอกาสตั้งครรภ์ได้หลังหยุดยา

3. ยาคุมฯ กินแล้วก็ต้องหยุดบ้างไม่งั้นมดลูกพัง?

ยาคุมกำเนิดถูกคิดค้นขึ้นโดยแพทย์ที่เข้าใจเรื่องสรีระและการทำงานของร่างกายตามวงจรการตกไข่และฮอร์โมนโดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่ายาคุมฯ ไม่ใช่ยาพิษที่จะทำลายสุขภาพร่างกายของเราในภายหลัง มีเพียง 2 กรณีเท่านั้นที่ทางการแพทย์แนะนำว่าควรหยุดยาคุมฯ คือกรณีที่อยากมีลูกและการฉีดยาคุมที่อาจส่งผลต่อมวลความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งตามปกติก็แนะนำให้ฉีดเพียงสองปีครั้ง

  • ยาคุมกำเนิดปลอดภัย ออกแบบตามวงจรธรรมชาติของร่างกาย
  • ควรหยุดยาเมื่อต้องการมีบุตร หรือในกรณีฉีดยาคุมเป็นเวลานาน

4. ช่วงให้นมลูก ไม่จำเป็นต้องกินยาคุมฯ?

เป็นความเชื่อมานานแล้วว่าคุณแม่ขณะให้นมลูกไม่มีโอกาสท้องจนกว่าจะเด็กจะหย่านม แต่ความจริงคือโอกาสท้องสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ช่วงหลังคลอดไม่นาน เพราะทันทีที่ฮอร์โมนปรับเข้าสู่ภาวะปกติและคุณแม่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ เมื่อนั้นโอกาสท้องก็มีและมีมากกว่าที่หลายๆ คนคิดซะด้วย เคยเห็นคุณแม่ที่ท้องหัวปีท้ายปีไหมล่ะ?

  • ความเชื่อผิด! มีโอกาสตั้งครรภ์ได้หลังคลอดบุตร
  • ฮอร์โมนปรับเข้าสู่ภาวะปกติ + มีเพศสัมพันธ์ = เสี่ยงท้อง

5. ต้องกินยาคุมฯ เวลาเดิมทุกวันเพื่อให้ได้ผล?

ยังไม่มีผลวิจัยใดๆ มาชี้วัดประสิทธิภาพของยาคุมฯ ว่าจะได้ผลก็ต่อเมื่อกินเวลาเดิมทุกวันนะจ๊ะ แต่ที่หลายคนบอกอย่างนั้นก็เพื่อให้เราจำได้ว่าต้องกินทุกวันเป็นกิจวัตรเท่านั้น หรืออีกเหตุผลหนึ่งก็คือยาคุมแบบปราศจากสารเอสโตรเจนซึ่งประสิทธิภาพการป้องกันนั้นขึ้นอยู่กับเวลาที่กินด้วย เมื่อเลยเวลาประจำไปแล้วจะทำให้การป้องกันลดลง

  • ไม่จำเป็นต้องกินเวลาเดิมเป๊ะ แต่ควรกินทุกวัน
  • ยาคุมบางชนิด ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับเวลาที่กิน

6. กินยาคุมฯ เป็นประจำทำให้เกิดลิ่มเลือด?

การกินยาคุมฯ อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ก็จริงแต่ในปริมาณน้อยมากคือ 0.04 – 0.18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วลิ่มเลือดมักเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นมากกว่าเช่น การตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร รวมถึงพฤติกรรมอื่นๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ความอ้วน โรคหัวใจ ไมเกรน ฯลฯ ดังนั้นก่อนจะโทษยาคุมต้องดูปัจจัยอื่นด้วยว่าอาจเป็นสาเหตุหลักในการเกิดลิ่มเลือดก็เป็นได้

  • โอกาสเกิดลิ่มเลือดจากยาคุมมีน้อยมาก
  • ปัจจัยอื่นๆ เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดมากกว่า เช่น การตั้งครรภ์, ความดันโลหิตสูง

7. ยาคุมฯ กลางแผงคือส่วนที่สำคัญที่สุด?

การกินยาคุมฯ อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ก็จริงแต่ในปริมาณน้อยมากคือ 0.04 – 0.18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วลิ่มเลือดมักเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นมากกว่าเช่น การตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร รวมถึงพฤติกรรมอื่นๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ความอ้วน โรคหัวใจ ไมเกรน ฯลฯ ดังนั้นก่อนจะโทษยาคุมต้องดูปัจจัยอื่นด้วยว่าอาจเป็นสาเหตุหลักในการเกิดลิ่มเลือดก็เป็นได้

  • ควรกินยาคุมทุกวัน
  • ยาคุมแบบ 28 เม็ด 7 วันแรกสำคัญที่สุด
  • ช่วงต้นแผงและท้ายแผง มีความสำคัญไม่แพ้กัน

8. กินยาคุมฯ ไม่ท้องหรอก?

ขึ้นชื่อว่ายาคุมฯ ยังไงก็ควรกินเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นความเชื่อที่ว่า “ลืมกินยา” ช่วงต้นแผงหรือท้ายแผงก็ไม่ท้องอยู่ดีนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของยาด้วย เช่น ยาคุมแบบ 28 เม็ดซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดนั้น วงจรการป้องกันที่แน่นหนาจะขึ้นอยู่กับช่วง 7 วันแรกเป็นหลัก นั่นหมายถึงถ้าลืมบ้างในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า แต่ช่วงต้นแผงและท้ายแผงคือช่วงที่ซีเรียสที่สุด แนะนำหากไม่มีแพลนจะตั้งครรภ์ก็จงกินยาทุกวันจนเป็นกิจวัตรนั่นล่ะดีที่สุดนะสาวๆ

  • ยาคุมมีประสิทธิภาพสูง แต่ไม่ 100%
  • ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 99%

9. ยาคุมกำเนิดมีแต่ผลเสีย?

การคุมกำเนิดที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์คือการไม่มีเพศสัมพันธ์ นั่นหมายถึงแม้แต่การกินยาคุมฯ ก็ใช่จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้แบบไม่มีข้อแม้ ตามสถิติและการวิจัยของสถาบันในสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นว่าการกินยาคุมฯ อย่างมีวินัยสามารถป้องกันการตั้งท้องได้มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับการปกป้องที่สูงกว่าการใส่ถุงยางอนามัยที่ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 98 เปอร์เซ็นต์ และการหลั่งภายนอกที่แม้ความเสี่ยงจะมีแค่ 4-22 เปอร์เซ็นต์แต่ใครจะรู้ล่ะว่าตัวเลขอันน้อยนิดนั้นอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ดังนั้นเอาความสบายใจและปลอดภัยไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

  • ยาคุมกำเนิดมีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยควบคุมรอบเดือน ลดสิว
  • เลือกใช้ยาคุมให้เหมาะสมกับร่างกาย

_

และหากสาวๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนและการคุมกำเนิดได้ที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้เลยค่ะ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลยนะคะ คลิก

Scroll to Top