5 วิธีเปลี่ยน ‘ตัวบวม’ เป็น ‘ตัวแม่’ ลดภาวะตัวบวมช่วงก่อนมีประจำเดือน

5 วิธีเปลี่ยน ‘ตัวบวม’ เป็น ‘ตัวแม่’ ลดภาวะตัวบวมช่วงก่อนมีประจำเดือน

สาวๆ เคยเป็นกันไหมคะ? ต้องมานั่งกุมขมับมองเสื้อผ้าที่เราเคยใส่ได้ พอจะเข้ารอบเดือนทีไร ร่างกายก็เปลี่ยนจากหน้าท้องที่แบนราบ เป็นพุงที่ยื่นออกมา และตัวก็บวมขึ้นมาซะงั้น! แค่นั้นยังไม่พอ บางคนก็มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย! ซึ่งทำเอาหลายๆ คนหมดความมั่นใจไปเลยค่ะ

‘ตัวบวมขึ้น หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น’ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับสาวๆ ช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้นเอง เป็น 1 ในกลุ่ม อาการ PMS เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เลยมีการสะสมน้ำไว้ในร่างกายมากกว่าปกติ และเป็นช่วงที่บริเวณโพรงมดลูกจะหนาขึ้น ส่งผลทำตัวบวมขึ้นนั้นเอง

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ร่างกายบวมขึ้น ปัญหาที่ไม่ว่าเกิดขึ้นกี่ครั้ง ก็รู้สึกนอยด์มากแบบบอกไม่ถูก แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปค่ะ ซิสเลยจะขอชวนสาว ๆ มาอ่านวิธีลดภาวะตัวบวมกันค่ะ ส่วนจะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย!

อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)

เป็นกลุ่มอาการทางกาย พฤติกรรม รวมถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน บางรายอาจมีอาการนานถึง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการจะค่อยๆ  ดีขึ้นประมาณ 2-3 วันหลังมีประจำเดือน ซึ่งอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) จัดอยู่ในประเภทอาการไม่รุนแรง สามารถพบได้ในผู้หญิงทั่วไปถึง 80% 

อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ปวดท้องประจำเดือน 
  • ตัวบวม พุงป่อง
  • คัดตึงเต้านม
  • สิวขึ้น
  • ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ
  • หิวข้าวบ่อย กินบ่อย น้ำหนักมากขึ้น
  • วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน

5 วิธีเปลี่ยน ‘ตัวบวม’ เป็น ‘ตัวแม่’ ช่วงก่อนมีประจำเดือน

รูปอธิบายวิธีลดตัวบวม ช่วงวันนั้นของเดือน พร้อม ยาคุม 24+4 ยาคุมแผงสีม่วง และยาคุมแผงสีฟ้า

1. กินอาหารที่มีประโยชน์ 

กินจุ๊บจิ๊บ กินกุ๊กกิ๊ก กุ๊กหม่ำ พอเข้าสู่ช่วงก่อนมีประจำเดือน สาวๆ ก็พร้อมใจจะเดินไปหาของกินบ่อยขึ้น ขอแนะนำให้สาวๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โปรตีน แคลเซียม และใยอาหาร พร้อมหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด รสเค็ม และไขมันสูง โดยแบ่งกินเป็นมื้อย่อยๆ ในแต่ละวัน เพื่อป้องกันอาการท้องอืด และท้องผูก

2. ดื่มน้ำสะอาด ให้ได้อย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร 

น้ำเปล่าจะเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้เราสามารถขับของเหลวและโซเดียมได้ดีขึ้น แถมยังช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนสะดวก และยังช่วยลดอาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ควรงดเครื่องดื่มคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ด้วย

3. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง 

ออกกำลังกาย ครั้งละ 30 นาที จะช่วยลดพุง อาการตัวบวม และไขมันในร่างกายได้ดี แถมยังช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและอาการปวดท้องช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ด้วย

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

เข้าสู่ช่วงก่อนมีประจำเดือนก็ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากขึ้น และยิ่งเรานอนดึก ก็จะทำให้อ่อนเพลียมากกว่าเดิม ดูไม่สดใส เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟู ยิ่งทำให้ตัวบวมมากขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นการนอนหลับพักผ่อนควรจะอยู่ประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับมาดียิ่งขึ้น และยังช่วยลดอาการบวมตามร่างกายอีกด้วย

5. กินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม สูตร 24+4

ยาคุมฮอร์โมนรวมสูตร 24+4 เม็ดยา 24 เม็ด และเม็ดแป้ง 4 เม็ด ซึ่งประกอบด้วยตัวยาดรอสไพรีโนน (Drospirenone) มีฤทธิ์ในการต้านฮอร์โมนเพศชาย ที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว ผิวมัน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ต้านการบวมน้ำ ทำให้ร่างกายขับปัสสาวะ จึงลดอาการบวมน้ำได้อย่างอยู่หมัด ไม่ทำให้อ้วน ตัวบวม หรือน้ำหนักขึ้นนั่นเองค่ะ ที่สำคัญยาคุมสูตรนี้ยังทำให้ฮอร์โมนในร่างกายคงที่ ไม่แปรปรวน จึงรักษาอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ได้

และนี้คือ 5 วิธีที่ซิสได้นำเสนอไปนะคะ ใครที่กำลังประสบปัญหาตัวบวมในช่วงวันนั้นของเดือน ก็สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปลองปรับใช้กันได้เลยนะคะ สาวๆ จะต้องกลับไปหุ่นสวย สไตล์เราแบบปังๆ ได้แน่นอนค่ะ! 

หรือหากสาวๆ คนไหนยังมีข้อสงสัยหรืออยากได้คำแนะนำในด้านการเลือกใช้ยาคุมกำเนิด สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่.. ‘PHARMASIS’ ร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิง ตามร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านของทุกคนได้ 

ค้นหาร้านขายยาที่เข้าใจผู้หญิงใกล้บ้านได้ตามลิงก์นี้เลย คลิก

Scroll to Top