PMS & PMDD ตัวการของอาการปวดท้องอารมณ์แปรปรวน ก่อนมีประจำเดือน แค่รู้ทันก็เอาอยู่

ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ต้องเคยมีประสบการณ์สารพัดอาการก่อนมีประจำเดือนกันทั้งนั้นใช่มั้ยคะ ไม่ว่าจะเป็น

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โกรธง่าย ซึมเศร้าบ่อย
  • คัดตึงเต้านม
  • มีอาการท้องผูก หรือ ท้องเสีย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ปวดท้อง ท้องอืด
  • ฯลฯ

ซึ่งอาการเหล่านี้มีชื่อเรียกรวมๆ ว่า PMS (Premenstrual Syndrome) หรือ อาการก่อนมีประจำเดือน สาเหตุเกิดจากภาวะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ในช่วงที่เกิดการตกไข่ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจตามอาการดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีอาการขั้นกว่าของ PMS ที่ชื่อว่า PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) หรือ อาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง ซึ่งถ้าสาวๆ มีอาการ PMDD จะส่งผลต่อชีวิตประจำอย่างมาก และต้องได้รับการบำบัดจากแพทย์อีกด้วย แต่เพราะ PMS และ PMDD มีความคล้ายคลึงกันมาก จนอาจสร้างความสับสนให้สาวๆ ได้ วันนี้ก็เลยจะมาเล่าความแตกต่างของอาการ PMS และ PMDD รวมถึงวิธีรับมือเบื้องต้น ให้สาวๆ ได้รู้ทันกันค่ะ

อาการก่อนมีประจำเดือน หรือ  PMS

เป็นกลุ่มอาการทางกาย พฤติกรรม รวมถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน บางรายอาจมีอาการมากถึง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ซึ่งจะค่อยๆ  ดีขึ้นประมาณ 2-3 วันหลังมีประจำเดือน ซึ่งอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) จัดอยู่ในประเภทอาการไม่รุนแรง สามารถพบได้ในผู้หญิงทั่วไปถึง 80%

นอกจาก PMS แล้ว อีกอาการหนึ่งที่ไม่เอ่ยถึงไม่ได้ก็คือ อาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง หรือเรียกสั้นๆ ว่า PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลกระทบทางจิตได้มากกว่า

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่อาการของ PMS และ PMDD มีความคล้ายคลึงกันมาก จึงมีวิธีแยกแยะทั้งสองอาการตามภาพด้านล่างนี้ค่ะ

สาเหตุของ PMS และ PMDD คืออะไร จะแตกต่างกันอย่างไร

วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการก่อนมีประจำเดือน PMS หรือ PMDD

  1. ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หันมาดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รู้จักจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น
  2. ใช้ยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมในการปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล โดยเลือกใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำสูตร 24+4 ที่มีตัวยา 24 เม็ด และเม็ดแป้ง 4 เม็ด ด้วยจำนวนเม็ดยาที่ต่างจากสูตรอื่น จึงช่วงกดการแกว่งของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ฮอร์โมนคงที่ จึงช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) รวมถึงอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง (PMDD) ได้
  3. หากมีอาการ PMDD ที่ค่อนข้างรุนแรง ควรพบจิตแพทย์เพื่อเข้าการบำบัดรักษา

เป็นอย่างไรบ้างคะสาวๆ ได้รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมลองไปสำรวจตัวเองกันดูนะคะ หากพบว่าเกิดอาการคล้าย PMS หรือ PMDD ลองเข้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจความแตกต่างของสุขภาพผู้หญิงกับ PHARMASIS – ร้านยาที่เข้าใจผู้หญิง ได้ที่

http://www.pharmasis.neversurrender.in.th/

Scroll to Top